ดูแลยานยนต์

8 พฤติกรรมทำร้ายรถ ที่คุณอาจทำโดยไม่รู้ตัว

ผู้เขียน : Varanya C.

Be youeself, be happy with that ...

Published March 13, 2023
สาเหตุที่ทำให้รถพังง่าย

รถถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่เราต้องใช้ในชีวิตประจำวันในการเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ เมื่อใช้รถเป็นเวลานานย่อมมีการสึกหรอและเสื่อมสภาพเป็นธรรมดา แต่ทางที่ดีต้องควรดูแลรักษาควบคู่ไปกับการใช้งานด้วย เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานออกไป ซึ่งการดูแลรักษานั้นจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น วันนี้ เอเชียไดเร็ค นำ 8 พฤติกรรมทำร้ายรถมาบอกกันค่ะ ถ้าไม่อยากให้รถของคุณมีอาการสึกหรอก่อนเวลาอันควรต้องเลิกพฤติกรรมดังนี้

1. ไม่สนใจไฟเตือนบนหน้าปัด

ไฟเตือนบนหน้าปัดถือเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะไฟเตือนที่เป็นสีเหลืองและสีแดง ซึ่งไฟเตือนสีแดงมักหมายถึงระบบที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อน และระบบความปลอดภัย หากมีสัญญาณไฟตัวไหนสว่างขึ้น ควรตรวจสอบกับคู่มือทันทีว่าเกิดปัญหาอะไร แต่หากเป็นไฟรูปเครื่องยนต์ ควรรีบนำรถเข้าอู่หรือศูนย์บริการทันที เพื่อให้ช่างทำการตรวจสอบต่อไป หากปล่อยเอาไว้อาจเกิดปัญหาลุกลามบานปลายได้

2. เหยียบคันเร่งอย่างรุนแรงขณะเครื่องเย็น

หลายคนเดินทางไปทำงานตอนเช้า พอสตาร์ทเครื่องยนต์ปุ๊ป ก็ออกเดินทางโดยใช้ความเร็วสูงทันที ซึ่งการสตาร์ทเครื่องยนต์ตอนเช้าหลังจากที่จอดรถทิ้งไว้ทั้งคืนนั้น น้ำมันเครื่องยังไปหล่อเลี้ยงส่วนประกอบภายในเครื่องยนต์ได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้เกิดการเสียดสีอย่างรุนแรง รวมถึงอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องและน้ำมันเกียร์ยังคงเย็นอยู่เช่นกัน ทางที่ดีควรเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ จนกว่าไฟเตือนน้ำหล่อเย็นสีน้ำเงินดับลง หรือจนกว่าเข็มวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นขึ้นมาใกล้ระดับกึ่งกลางมาตรวัด

3. ไม่ยอมใช้เบรกมือขณะจอดรถบนทางลาด

เมื่อจอดรถบนทางลาดควรใช้เบรกมือก่อนเข้าเกียร์ P ทุกครั้ง เพราะถ้าคุณไม่ดึงเบรกมือก่อนเข้าเกียร์ P สลักเกียร์หรือตัวล็อกเฟืองขับหลัก (Parking Pawl) ซึ่งมีขนาดใหญ่ราวหัวแม่มือจะต้องรับภาระน้ำหนักรถทั้งคันเอาไว้ จึงไม่เป็นผลดีกับระบบเกียร์ และส่งผลให้อุปกรณ์เสียหายต้องจ่ายเงินซ่อมเร็วขึ้น

4. ออกตัวอย่างรุนแรง

การออกตัวอย่างรุนแรงหรือรวดเร็วนั้นอาจดูเร้าใจก็จริง ซึ่งนอกจากจะสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงแล้วยังสร้างภาระหนักให้กับชุดระบบส่งกำลังทั้งหมด และยิ่งเร่งไปได้ไม่ไกลแล้วต้องเบรกก็จะทำให้ระบบเบรก เช่น ผ้าเบรก รวมถึงโรเตอร์ทำงานหนักอีก ทั้งนี้หากไม่อยากจ่ายค่าซ่อมหรือบำรุงรักษาเร็วกว่ากำหนดควรขับรถอย่างนุ่มนวลจะดีที่สุด

5. คิกดาวน์บ่อยครั้ง

การคิกดาวน์ คือ การเร่งความเร็วโดยเพิ่มน้ำหนักคันเร่ง จนกระทั่งเกียร์มีการเปลี่ยนอัตราทดไปยังต่ำแหน่งที่ต่ำกว่า ซึ่งช่วยเรียกแรงม้าและแรงบิดให้รถพุ่งไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว แต่การคิกดาวน์บ่อยๆนั้น จะก่อให้เกิดผลเสียกับระบบเกียร์ในระยะยาว เนื่องจากชุดเฟืองต้องรับแรงบิดที่เพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง ส่งผลให้อายุการใช้งานเกียร์สั้นลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็นต้องรีบร้อนจริงๆ ก็ควรข้บไปเรื่อยๆดีกว่า

6. การเปลี่ยนเกียร์ถอยหลังเดินหน้าทันที โดยไม่รอให้รถหยุดสนิท

สำหรับพฤติกรรมแย่ ๆ ทำร้ายรถนี้อาจเกิดขึ้นกับเกียร์ธรรมดาได้มากกว่าเกียร์อัตโนมัติ โดยการรีบร้อนเปลี่ยนเกียร์ถอยหลังเพื่อเดินหน้า หรือจากเดินหน้าเพื่อถอยหลังโดยไม่รอให้หยุดสนิทเสียก่อนเป็นการกระทำที่ชัดเจนว่าทำลายระบบขับเคลื่อนและส่งกำลังโดยตรง หากไม่อยากเปลี่ยนเกียร์หรือต้องซ่อมแซมชุดเกียร์ ซึ่งอาจลามไปเครื่องยนต์รวมถึงเพลาขับ รีบแค่ไหนควรรอให้รถหยุดสนิทก่อนทุกครั้ง

7. ลุยน้ำท่วมสูงเกินไป

แม้ว่าบางครั้งจะหลีกเลี่ยงการขับรถผ่านที่ที่มีน้ำท่วมขังไม่ได้ แต่ก็ควรที่จะเลือกใช้เลยที่มีน้ำท่วมขังตื้นที่สุด เพราะน้ำจำนวนมากอาจถูกดูดเข้าไปยังห้องเครื่องยนต์ทำให้ก้านสูบหัก และอาจทำให้น้ำเข้าไปยังห้องเกียร์ได้อีกต่างหาก

8. บรรทุกของหนักเกินไป

การบรรทุกของหนักเกินไปหรือบ่อยครั้งส่งผลให้เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง ระบบกันสะเทือน และเบรกทำงานหนักรวมไปถึงสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากกว่าปกติ ดังนั้นควรทำให้รถของคุณแบกน้ำหนักน้อยที่สุด โดยหลีกเลี่ยงการขนของหนักบ่อยๆ ซึ่งนอกจากทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงแล้วยังทำให้รถของคุณใช้งานได้ยาวนานขึ้นด้วย

เหล่านี้คือ 8 พฤติกรรมที่ทำร้ายรถ หากยังไม่หยุดจะทำให้รถเสียหรือรถพังได้ง่าย ดังนั้นไม่เพียงแต่ขับรถเก่งแล้ว ยังต้องรู้จักวิธีดูแลรถเพื่อให้รถยนต์ของคุณสามารถใช้ งานได้อย่างยาวนาน อย่างไรก็ตาม อย่าลังเลที่จะซื้อประกัยรถยนต์ของ เอเชียไดเร็ค โบรคเกอร์ ติดตัวไว้สักฉบับ เพราะเรามีแผนประกันรถยนต์มากมายจากบริษัทประกันภัยชั้นนำให้คุณได้เลือกสรร เช่น กรุงเทพประกันภัย ธนชาตประกันภัย เมืองไทยประกันภัย และอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนตลอด 24 ชั่วโมง หากสนใจ โทรเลย 02-089-2000

บทความดูแลยานยนต์
Rabbit Care Blog Image 1051

ดูแลยานยนต์

ถุงลมนิรภัย คือ อะไร ใช้งานเมื่อไหร่ ต้องเปลี่ยนไหม แล้วมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

จุดเริ่มต้นของถุงลมนิรภัยเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1971 ที่ทางบริษัทฟอร์ดได้สร้างรุ่นทดลองขึ้นมาวิจัย
คะน้าใบเขียว
clock icon01/02/2024
Rabbit Care Blog Image 1047

ดูแลยานยนต์

Crossover คือ รถอะไร แล้วมีความแตกต่างจากประเภทอื่นอย่างไรบ้าง

พอพูดถึงประเภทรถยนต์ที่คุ้นหูในยุคนี้ คงหนีไม่พ้นรถ SUV, Sedan, Hatchback หรือ Crossover อย่างแน่นอน ซึ่ง 3 ประเภทแรกที่เรากล่าวมา มันก็มีความชัดเจนอยู่แล้วภายใต้ชื่อรุ่น
คะน้าใบเขียว
clock icon30/01/2024
Rabbit Care Blog Image 1024

ดูแลยานยนต์

ไฟตัดหมอกมีความสำคัญอย่างไร และแยกออกเป็นกี่ประเภท

โดยปกติแล้วคนที่ซื้อรถยนต์ในปัจจุบันจะมีไฟตัดหมอกติดตั้งมาให้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เพียงแต่บางคนอาจไม่ทราบข้อมูลอย่างแท้จริงว่าไฟตัดหมอก คือ อะไร
คะน้าใบเขียว
clock icon25/01/2024