ประมาทร่วม คืออะไร สรุปแล้วใครผิดใครถูก แต่ละกรณีต้องรับผิดชอบอย่างไร
ในเกือบทุกอุบัติเหตุต้องมีการวิเคราะห์ว่าฝ่ายใดถูก ฝ่ายใดผิด แต่บางครั้งคำว่า ประมาทร่วม มักจะปรากฏขึ้นมาให้เราได้ยินบ่อยครั้ง จนอาจาทำให้สับสนได้ว่าสรุปแล้วสิ่งที่เรียกว่าการประมาทร่วม มีคนผิดกี่คน หากเกิดขึ้นจริงในอุบัติเหตุแต่ละกรณีจะต้องมีการรับผิดชอบอย่างไรบ้าง
ถ้ารถทำประกันอยู่เกิดประมาทร่วม ประกันจ่ายไหม และสุดท้ายจะมีค่าเสียหายในส่วนใดบ้างที่เราต้องจ่ายเองสำหรับรถที่ไม่มีประกันหลังจากเกิดอุบัติเหตุประมาทร่วม บทความนี้ เอเชียไดเร็ค รวบรวมข้อมูลความรู้ทั้งหมดมาให้แบบครบจบในหน้าเดียว อยากรู้เรื่องไหนค้นหาคำตอบไปพร้อมกันได้เลย
ประมาทร่วมคืออะไร ?
ประมาทร่วม คือ เหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากความประมาทของทั้ง 2 ฝ่าย จนทำให้เกิดอุบัติเหตุนั้นขึ้นมา ซึ่งมีความหมายทางกฎหมายว่า “ต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน” แปลตรงตัวได้ว่าทั้งคู่มีความประมาทจนกลายเป็นชนวนให้เกิดอุบัติเหตุ จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันทั้งคู่
แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าการประมาทร่วม คือ สิ่งที่ไม่มีอยู่ในข้อกฎหมาย เพราะหากมีการใช้คำว่าร่วมขึ้นมา จะแปลว่าอุบัติเหตุนั้นเกิดขึ้นมาโดยเจตนาของทั้งสองฝ่าย ทำให้ต้องมีการแจกแจงเป็นต่างคนต่างประมาทนั่นเอง
กรณีประมาทร่วม
ซึ่งกรณีประมาทร่วมนั้นเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น ประมาทร่วม คู่กรณีไม่ยอม, ประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บ, ประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บสาหัส, ประมาทร่วม คู่กรณีไม่มี พ.ร.บ., ประมาทร่วม คู่กรณีเสียชีวิต และประมาทร่วม ไม่มีประกัน โดยรายละเอียดของแต่ละกรณีค่อนข้างมีความละเอียดอ่อนที่แตกต่างกันออกไป สามารถติดตามอ่านได้จากหัวข้อย่อยด้านล่างนี้
- ประมาทร่วม คู่กรณีไม่ยอม
ประมาทร่วม คู่กรณีไม่ยอม ต้องการให้เราเป็นฝ่ายชดใช้หรือรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมา แนะนำให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างเร่งด่วน ทำการพูดคุยไกล่เกลี่ย หรือใช้หลักฐานเป็นวิดีโอบันทึกจากกล้องบนรถยนต์ เพื่อยืนยันว่าเกิดจากการประมาทร่วมจริง ซึ่งถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจตัดสินว่าเป็นการประมาทร่วม ก็ต้องมีการรับผิดชอบร่วมกันในท้ายที่สุด - ประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บ
ประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บ ในขั้นพื้นฐานที่ถึงแม้จะเป็นอุบัติเหตุจากการประมาทร่วม คู่กรณีจะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ.รถยนต์ หรือประกันภัยภาคบังคับได้ นอกเหนือจากนั้นยังได้รับการดูแลคุ้มครองจากประกันรถยนต์เพิ่มเติมเข้าไปอีกตามเงื่อนไขกรมธรรม์ - ประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บสาหัส
ประมาทร่วม คู่กรณีบาดเจ็บสาหัส จะได้คำตอบเช่นเดียวกับหัวข้อด้านบน คือ คู่กรณีจะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ.ได้ในขั้นพื้นฐาน ถ้าหากผู้ประมาทร่วมฝ่ายใดได้มีการทำประกันรถยนต์เอาไว้ ก็จะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ที่กำหนดอีกทีหนึ่ง จึงวางใจได้เลยว่าถ้าเกิดมีประกันรถยนต์อยู่แล้ว ต่างฝ่ายต่างรับผิดชอบตัวเองจนจบได้แบบไม่มีปัญหามากวนใจกันต่อ
คำแนะนำเพิ่มเติม: ประมาทร่วม เบิกค่ารักษาจาก พ.ร.บ. กรณีบาดเจ็บ ได้ชดเชยไม่เกิน 30,000 บาท/คน, กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ได้ชดเชยไม่เกิน 35,000 บาท/คน และกรณีที่เสียชีวิต ได้ชดเชยไม่เกิน 35,000 บาท/คน - ประมาทร่วม คู่กรณีไม่มี พ.ร.บ.
ประมาทร่วม คู่กรณีไม่มี พ.ร.บ. ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐานตามที่ข้อกฎหมายกำหนดตามรายละเอียดคำแนะนำด้านบน ซึ่งจะไม่สามารถเบิกจาก พ.ร.บ. ของเราที่เป็นคู่กรณีประมาทร่วมด้วย ดังนั้นทางคู่กรณีจึงต้องมีการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
คำแนะนำเพิ่มเติม: ถ้าไม่ได้ถูกตัดสินว่าเป็นสถานการณ์ประมาทร่วม แล้วขับรถไปจนกับคู่กรณีที่ไม่มี พ.ร.บ. จะมีกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยที่คอยช่วยเหลือดูแล ด้านค่าเสียหายเบื้องต้นให้เราก่อน หลังจากนั้นทางกองทุนจะไปติดตามค่าเสียหายคืนจากคู่กรณีเอง - ประมาทร่วม คู่กรณีเสียชีวิต
ประมาทร่วม คู่กรณีเสียชีวิต จะได้รับค่าชดเชยเบื้องต้นจาก พ.ร.บ. 35,000 บาท/คน ส่วนความคุ้มครองด้านอื่น ๆ เพิ่มเติมต้องขึ้นอยู่กับการทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเอาไว้ ว่ามีเงื่อนไขการคุ้มครองอย่างไรบ้าง รวมถึงประกันภัยประเภทอื่น ๆ ที่ได้ทำการสมัครไว้ จะมีส่วนที่เข้ามาช่วยคุ้มครองเพิ่มเติมได้บ้าง - ประมาทร่วม ไม่มีประกัน
ประมาทร่วม ไม่มีประกัน เราจะได้รับเพียงแค่การคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. เท่านั้น ส่วนค่าเสียหายด้านทรัพย์สิน ค่ารักษาบุคคลภายนอก หรือค่าเสียหายรถยนต์จะไม่ได้รับการดูแลแต่อย่างใดหากไม่มีประกันรถยนต์ และประกันรถยนต์ของคู่กรณีที่ประมาทร่วมด้วยก็จะไม่คุ้มครองเช่นกัน เพราะถูกตัดสินว่าประมาทร่วมแล้ว ต่างฝ่ายต้องรับผิดชอบตัวเองทั้งสิ้น
สรุปได้ว่าหากเกิดอุบัติเหตุและถูกตัดสินว่าประมาทร่วม คือ ต่างฝ่ายต้องจัดการค่าเสียหายกันเอง จะไม่มีใครรับผิดชอบอีกฝ่าย เนื่องจากถูกตัดสินว่าร่วมกันประมาททั้งคู่ ถ้าหากไม่มีประกันรถยนต์เลยก็อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูง เพราะต้องดูแลทั้งรถยนต์ ดูแลผู้โดยสารบนรถ เอเชียไดเร็ค จึงอยากแนะนำว่าอย่างน้อยควรทำประกันรถยนต์เผื่อเอาไว้ แต่จะเป็นชั้นไหนที่คุ้มครองกรณีประมาทร่วมบ้างนั้น ต้องติดตามเอาจากหัวข้อถัดไป
ประมาทร่วม ประกันจ่ายไหม
ประมาทร่วม ประกันจ่ายไหม คำตอบ คือ ประกันชั้นที่ 1, 2+ และ 3+ จะดูแลคุ้มครอง ส่วนประกันชั้น 2 และ 3 จะไม่มีการคุ้มครองจากประกันแต่อย่างใดเมื่อเกิดอุบัติเหตุประมาทร่วม ส่วนเหตุผลทั้งด้านการคุ้มครองและไม่คุ้มครอง เอเชียไดเร็ค อธิบายให้ด้านอ่านตามลิสต์รายการดังต่อไปนี้
ประเภทประกัน | ความคุ้มครองของประกันกรณีประมาทร่วม |
ประกันชั้น 1 | คุ้มครองค่าเสียหายการซ่อมรถยนต์* พร้อมครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลอย่างครบวงจร มีค่าสินไหมทดแทนให้ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ |
ประกันชั้น 2+ และ 3+ | คุ้มครองค่าเสียหายการซ่อมรถยนต์ กรณีรถชน* พร้อมครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลอย่างครบวงจร มีค่าสินไหมทดแทนให้ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ |
ประกันชั้น 2 และ 3 | ไม่สามารถเคลมได้ ทั้งรถของผู้เอาประกันหรือรถคู่กรณี |
*หมายเหุต: การคุ้มครองค่าเสียหายการซ่อมรถยนต์อาจดูแลได้ไม่เต็มจำนวน เนื่องจากสาเหตุประมาทร่วมเป็นหลัก
พอได้เห็นตารางภาพรวมแบบนี้ เอเชียไดเร็ค เชื่อว่าผู้ใช้รถยนต์ทุกคนคงเข้าใจถึงความสำคัญของประกันรถยนต์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งขอแนะนำว่าใครที่เป็นมือใหม่ในการขับรถ หรือเพิ่งออกรถใหม่มาได้ไม่นาน ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 คงค่อนข้างเหมาะสมที่สุดแล้ว
ส่วนผู้ที่ขับรถมาสักระยะจนมีความชำนาญ ประกันชั้น 2+ หรือ 3+ ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีในด้านการคุ้มครอง แถมยังช่วยประหยัดงบจากค่าเบี้ยประกันที่ไม่สูงมากด้วย และสุดท้ายคนที่ขับรถจนมีประสบการณ์มาก รวมถึงไม่ค่อยได้มีโอกาสใช้รถยนต์การเลือกทำประกันชั้น 2 หรือ 3 ก็ยังดูเป็นตัวเลือกที่ดีทีเดียว
สรุปแล้วประมาทร่วมต้องจ่ายอะไรเองบ้าง
สรุปแล้วหากเกิดอุบัติเหตุประมาทร่วมขึ้นมา ค่าเสียหายที่ต่างฝ่ายต่างต้องรับผิดชอบ คือ ค่าซ่อมรถยนต์ของตัวเอง, ค่ารักษาพยาบาลของตัวเองและผู้โดยสาร, ค่าเสียหายต่อทรัพย์สินที่เกิดขึ้น และค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอุบัติเหตุประมาทร่วมครั้งนั้น โดยเฉพาะกรณีที่มีบุคคลที่ 3 ได้รับความเสียหาย ผู้ประมาทร่วมทั้ง 2 ฝ่ายต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่ 3 ร่วมกัน
ก่อนจะเกิดอุบัติเหตุที่ถูกตัดสินว่าประมาทร่วม เอเชียไดเร็ค แนะนำให้รวบรวมหลักฐานเพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจสอบอีกครั้งว่ามีฝ่ายผิดหรือถูกในครั้งนี้หรือไม่ หากเรามั่นใจว่เาป็นฝ่ายผิดอาจต้องหาหลักฐานเป็นคลิปวิดีโอกล้องหน้ารถ หลังรถของเราหรือจากคันอื่นที่สามารถเห็นเหตุการณ์ได้ รวมถึงพยานในสถานที่เกิดเหตุจะช่วยบ่งชี้ให้เราได้อีกเช่นกัน
แต่ถ้าถูกตัดสินว่าเป็นอุบัติเหตุประมาทร่วมไปแล้วก็ไม่เป็นไร เพราะเดี๋ยวประกันรถยนต์จะทำการดูแลคุ้มครองคุณอย่างต่อเนื่องตามเงื่อนไขกรมธรรม์ และอย่าลืมตรวจสอบการคุ้มครองจาก พ.ร.บ. เพิ่มเติมกรณีที่ต้องมีค่ารักษาพยาบาล เพื่อให้เราได้รับความคุ้มครองอย่างครบถ้วนและดีที่สุด
สุดท้ายนี้ผู้ใช้งานรถยนต์คนไหนกำลังมองหาผู้ให้บริการประกันรถยนต์ดี ๆ พร้อมบริการที่ครบวงจร เอเชียไดเร็ค ขออนุญาตนำเสนอบริการประกันภัยรถยนต์ที่ดีที่สุด ภายใต้ข้อเสนอที่มีส่วนลดสูงสุดถึง 70% ยังเลือกผ่อน 0% ได้นานถึง 10 เดือนอีกด้วย สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 02-089-2000 ติดต่อได้ 24 ชั่วโมง
ความคุ้มครองรถประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภท