ประกันรถยนต์ชั้น 1
คุ้มครองครอบคลุมทุกกรณี

ราคาเริ่มต้นเพียง 7,100 บาท
ประหยัดสูงสุดถึง 70%

ประกันรถยนต์ชั้น 1 จาก Asia Direct Broker

คำนวณค่าชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

สรุปค่าชาร์จรถไฟฟ้าในหนึ่งครั้งต้องเสียค่าอะไร และเสียเท่าไหร่บ้าง

หลายคนคงเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าการใช้งานรถไฟฟ้า ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงโดยมีค่าชาร์จรถไฟฟ้าที่หากคำนวณแล้วยังไงก็ถูกกว่าค่าน้ำมันอยู่ดี แต่ว่าค่าชาร์จรถไฟฟ้าในแต่ละครั้ง อาจไม่ได้มีเพียงแค่ค่าไฟอย่างเดียว เพราะมีการเก็บอัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้าเพิ่มเติม ซึ่งผู้ให้บริการจะมีการคิดค่าชาร์จรถไฟฟ้าที่เป็นมาตรฐาน โดยสิ่งที่แตกต่างอย่างอัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้า สามารถอัปเดตตามเนื้อหาบนหน้าเว็บแห่งนี้ ส่วนช่วงท้ายเรามีการสอนคำนวณค่าชาร์จรถไฟฟ้าให้แบบเบ็ดเสร็จ พร้อมแนะนำเทคนิคขับรถให้ประหยัดได้มากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

อัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้าล่าสุด

อัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้าล่าสุดทั้งหมด 5 ผู้ให้บริการชั้นนำ คือ ปตท (EV Station PluZ), PEA (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค), บางจาก (SHARGE), EA Anywhere และ MEA (การไฟฟ้านครหลวง) ซึ่งแต่ละแห่งจะมีการอัปเดตค่าบริการที่แตกต่างกันออกไป โดยอ้างอิงตามหลักอัตราค่าไฟฟ้า TOU (Time of Use Tariff) ที่มีการประกาศออกมาจากภาครัฐหลายหน่วยงาน เช่น คำชี้แจงอัตราค่าไฟฟ้า TOU จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่จะช่วยให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังนี้

  • ช่วง Peak คือ 09.00 – 22.00 น. ในวันจันทร์ - ศุกร์ และวันพืชมงคล
  • ช่วง Off-Peak คือ 22.00 – 09.00 น. ในวันจันทร์ - ศุกร์ และวันพืชมงคล



ซึ่งคำว่า Peak หมายถึงช่วงที่มีค่าไฟฟ้าราคาสูง เนื่องจากมีความต้องการใช้งานมาก ส่วน Off-Peak เป็นช่วงที่มีราคาต่ำ เพราะมีความต้องการใช้งานน้อยนั่นเอง ส่วนอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU นี้ถูกดูแลโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ภายใต้นโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้แล้ว

ค่าชาร์จรถไฟฟ้า ปตท

ค่าชาร์จรถไฟฟ้า ปตท หรือ EV Station PluZ คือ On-Peak 7.5 บาท ส่วน Off-Peak 5.5 บาท สำหรับอัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้าตามห้างจะอยู่ที่ 9 บาท นอกจากนั้นยังมีค่าจองชาร์จล่วงหน้าอีก 40 บาทสำหรับผู้ที่สนใจใช้งาน โดยทำการจองได้ผ่านแอปพลิเคชัน EV Station PluZ

อัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้า pea

อัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้า PEA หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คือ On-Peak เครื่องอัดประจุต่ำกว่า 300 kW 6.9 บาท สูงกว่านั้นจะอยู่ที่ 8.8 บาท และช่วงเวลา Off-Peak เครื่องอัดประจุต่ำกว่า 300 kW 4.5 บาท และหากสูงกว่าจะอยู่ที่ 5.5 บาท ส่วนการจองล่วงหน้าไม่ได้มีระบุเอาไว้ว่าค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ โดยทุกคนสามารถใช้งานได้ผ่านแอปพลิเคชัน PEA VOLTA

ค่าชาร์จรถไฟฟ้า บางจาก

ค่าชาร์จรถไฟฟ้า บางจาก หรือ SHARGE คือ จุดชาร์จตามร้านสะดวกซื้อ 7-11 หรือร้านอาหาร เริ่มต้น 7.1 บาท, จุดชาร์จทั่วไป 8.7 บาท, ตามปั๊มเชลล์ที่เป็นตู้ DC 180 kW ราคา 9 บาท และตู้ AC 220 kW 8.5 บาท หากต้องการใช้บริการจองชาร์จล่วงหน้า จะมีค่าบริการเพิ่มเติม 20 บาท สามารถใช้งานได้ผ่านแอปพลิเคชัน SHARGE

ค่าชาร์จรถไฟฟ้า EA Anywhere

ค่าชาร์จรถไฟฟ้า EA Anywhere จากบมจ.พลังงานบริสุทธิ์ คือ ตู้ DC ราคา 7.7-8.7 บาท ส่วนตู้ AC 1 ชั่วโมงจะอยู่ที่ 80 บาท 2 ชั่วโมง 150 บาท 3 ชั่วโมง 220 บาท และ 4 ชั่วโมง 320 บาท สามารถใช้งานได้ผ่านแอปพลิเคชัน EA Anywhere แต่ทั้งนี้ช่วงเวลา On-Peak ค่าชาร์จรถไฟฟ้าของ EA Anywhere จะอยู่ในช่วงเวลาแค่ เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการเท่านั้น

ค่าชาร์จรถไฟฟ้า mea

ค่าชาร์จรถไฟฟ้า MEA หรือของการไฟฟ้านครหลวง คือ On-Peak 7.5 บาท และ Off-Peak 7.5 บาทเท่ากัน โดยทุกคนสามารถเข้าใช้บริการได้ด้วยแอปพลิเคชัน MEA EV

สำหรับค่าชาร์จรถไฟฟ้า หรืออัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้าของผู้ให้บริการนอกเหนือจากที่เราแนะนำ สามารถติดตามอ่านรายละเอียดได้จากแอปพลิเคชันของแต่ละราย เพื่อเช็กราคาที่ต้องจ่ายอย่างถูกต้องอีกครั้งก่อนเข้าใช้บริการ รวมถึงระบบการจองชาร์จล่วงหน้าที่มีค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน หรือบางกรณีอาจมีช่วงเวลา On-Peak และ Off-Peak ไม่เหมือนกัน จึงควรตรวจสอบให้เรียบร้อยอีกครั้ง ก่อนนำรถเข้าไปชาร์จไฟ

สอนคำนวณค่าชาร์จรถไฟฟ้า

สอนคำนวณค่าชาร์จรถไฟฟ้าแบบง่ายที่สุด คือ ให้เราดูสเปกรถไฟฟ้าของเราให้ดี ว่ามีขนาดแบตเตอรีเท่าไหร่ จากนั้นลองเปรียบเทียบด้วยค่าไฟฟ้า 1 หน่วยในปัจจุบัน ว่าต้องใช้กี่หน่วยถึงจะเติมแบตเตอรีได้เต็ม แล้วนำค่าไฟฟ้าไปคูณกับจำนวนหน่วยนั่นเอง ซึ่งตัวอย่างการคำนวณค่าชาร์จรถไฟฟ้ามีดังนี้

ยกตัวอย่าง รถไฟฟ้าขนาดแบตเตอรี 90 kWh ค่าไฟหน่วยละ 4 บาท โดย 1 หน่วย = 1 kWh

ดังนั้นค่าไฟฟ้า 1 kWh = 4 บาท หมายความว่าแบตเตอรี 90 kWh x 4 บาท

มีค่าเท่ากับ 360 บาท ต่อการชาร์จเต็ม 1 ครั้ง

อย่างไรก็ตามค่าชาร์จรถไฟฟ้านั้นขึ้นอยู่กับค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งตัวอย่างด้านบนเป็นการชาร์จแบบธรรมดาที่บ้าน ซึ่งการชาร์จปกติ 0-100% อาจกินเวลาถึง 8 ชั่วโมง ส่วนค่าชาร์จรถไฟฟ้าตามสถานีที่พร้อมให้บริการแบบ Quick Charge อาจมีค่าบริการที่สูงขึ้นเป็นหน่วยละ 6-8 บาท ทำให้มีอัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้าที่แพงขึ้น ไหนจะต้องคำนึงถึงเรื่อง On-Peak และ Off-Peak อีก ดังนั้นใครเป็นขาจรชาร์จไฟนอกบ้าน อย่าลืมวางแผนค่าใช้จ่ายให้ดีกันด้วย

เทคนิคขับรถให้ประหยัดค่าชาร์จรถไฟฟ้า

แชร์เทคนิคการขับรถอย่างไรให้เราสามารถประหยัดค่าชาร์จรถไฟฟ้าได้ด้วย คำตอบ คือ เลือกใช้ Quick Charge ที่ 80% คุ้มค่าที่สุด, เปิดแอร์รอไว้ก่อนถอดสายชาร์จ, ขับด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอ, วางแผนการเดินทางให้ดี และการเหยียบเบรกก็ช่วยสร้างพลังงานได้เช่นกัน หากใครทำเทคนิคไหนอยู่แล้ว ลองเพิ่มเติมสิ่งที่เรากำลังจะแนะนำต่อจากนี้ให้ครบถ้วน เชื่อเลยว่ามันจะยิ่งช่วยให้คุณประหยัดค่าชาร์จรถไฟฟ้าได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน

  • เลือกใช้ Quick Charge ที่ 80% คุ้มค่าที่สุด: เพราะระยะเวลาการชาร์จด้วยระบบ Quick Charge จนถึง 80% เป็นช่วงเวลาที่รวดเร็วที่สุด ทำให้เราประหยัดได้ทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายจากค่าชาร์จรถไฟฟ้าอีกต่างหาก
  • เปิดแอร์รอไว้ก่อนถอดสายชาร์จ: เนื่องจากแอร์ในรถจะเป็นการลดอุณหภูมิอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาให้อยู่ในระดับที่ตั้งค่าเอาไว้ ถ้าหากถอดสายชาร์จแล้วค่อยเปิดแอร์ จะเป็นการเร่งให้แอร์ทำงานขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เพื่อลดระดับอุณหภูมิ จึงส่งผลให้กินไฟเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
  • ขับด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอ: โดยเฉพาะช่วงความเร็วที่ประมาณ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพราะเป็นการช่วยประหยัดพลังงานให้ใช้งานน้อย มีความเสถียรในการจ่ายไฟมากกว่าความเร็วระดับ 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง แถมยังมีผลต่อประสิทธิภาพแบตเตอรีด้วย
  • วางแผนการเดินทางให้ดี: พร้อมดูระยะการเดินทางกับแบตเตอรีที่เหลือ ว่าเราควรแวะพักรถที่ไหน ควรจอดชาร์จนานเท่าไหร่ ถึงจะสามารถบริหารเวลา และค่าชาร์จรถไฟฟ้าได้อย่างคุ้มค่า เพราะถ้าเราวิ่งจนแบตเตอรีเหลือน้อยมากเกินกว่าที่ Quick Charge จะช่วยเร่งสปีด อาจต้องเสียเวลาเพิ่มมากขึ้น และเสียค่าชาร์จรถไฟฟ้ามากกว่าเดิมโดยใช่เหตุ
  • เหยียบเบรกช่วยสร้างพลังงาน: หรือการถอนคันเร่งเพื่อปล่อยให้รถไหลไปอย่างเหมาะสม จะเป็นการเปลี่ยนพลังงานจลน์ที่เกิดขึ้น ให้แปลงกลับไปเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บไว้ในแบตเตอรี ช่วยให้เรามีไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากการขับขี่อย่างเหมาะสม ฉะนั้นช่วงไหนที่ควรชะลอรถ อย่าลืมค่อย ๆ แตะเบรก ปล่อยให้รถไหลช้า ๆ ช่วยเติมแบต ประหยัดค่าชาร์จรถไฟฟ้าได้เช่นกัน

ยิ่งถ้าเราสามารถทำทั้ง 5 เทคนิคพร้อมกันได้ตลอดเวลาที่ใช้งานรถไฟฟ้า คุณจะเห็นตัวเลขค่าชาร์จรถไฟฟ้าที่ประหยัดลงได้อย่างชัดเจน ซึ่งปกติก็ประหยัดมากกว่าค่าน้ำมันอยู่แล้ว ถ้าเรายิ่งประหยัดเพิ่มขึ้นอีกก็ต้องเป็นเรื่องดีอยู่แล้ว แถมบางเทคนิคยังช่วยถนอมแบตเตอรีได้อีกด้วย

เมื่อไหร่ที่เราออกเดินทางด้วยรถไฟฟ้า อย่าลืมคำนวณค่าชาร์จรถไฟฟ้า เพื่อคิดถึงความคุ้มค่าในการเดินทางให้ดี และสุดท้ายนี้ เอเชียไดเร็ค อยากช่วยนำเสนอเพิ่มเติมความปลอดภัย และความสบายใจทุกเส้นทางการขับขี่ ด้วยประกันรถยนต์ที่ดูแลรถไฟฟ้าของคุณได้อย่างครอบคลุมที่สุด หากกำลังสนใจแต่ยังเลือกไม่ได้ สามารถโทรเข้ามาขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-089-2000 หรือติดต่อผ่านไลน์แอดที่ @asiadirect ได้เหมือนกัน สะดวกช่องทางไหน ก็ติดต่อเข้ามาได้เลย เอเชียไดเร็ค ยินดีให้บริการ

ความคุ้มครองรถประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภท

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้
x
x
รถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้