ขับขี่ปลอดภัย

10 วิธีปฏิบัติอย่างมีสติเมื่อเราขับรถเฉี่ยวหรือชนบนท้องถนน

ผู้เขียน : korkong

Writer ที่อยากเขียนทุกเรื่องราวบนโลก เพื่อหวังจะยกระดับความรู้ในสมองให้เติบโตอย่างช้าทีละนิด ชื่นชอบเทคโนโลยี ความสมัยใหม่ พร้อมอัปเดตทุกอย่างให้โลกได้รู้ผ่านสมองและสองมือ

Published February 16, 2023
วิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน รถเฉี่ยว

10 วิธีที่ควรทำเมื่อเกิดเหตุการณ์ขับรถเฉี่ยว ชน เชื่อว่าผู้ขับรถทุกคนคงเคยต้องประสบพบเจอกันมาบ้าง แต่ที่สำคัญไม่เจอจะดีที่สุด แล้วถ้าเกิดวันหนึ่งเหตุการณ์นั้นมาเกิดขึ้นกับรถของเราล่ะ ไม่ว่าจะด้วยความประมาทของคนอื่นที่ขับรถมาชนรถเราหรือเป็นเราเองที่ไปชนรถคนอื่นเข้า นอกจากควรจะมีสติแล้วเราควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้ผ่านเหตุการณ์นี้ไปได้ด้วยดี นั้นเรามาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1. หยุดรถ 

ทันทีแม้จะเป็นอุบัติเหตุเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม อย่าเลื่อนรถจนกว่าจะตกลงกันได้ว่า อุบัติเหตุเกิดขึ้นจากสาเหตุใด ใครเป็นคนผิด หรือควรรอเจ้าหน้าที่ตำรวจมาทำการตีเส้นอุบัติเหตุก่อนแล้วค่อยเลื่อนรถ หรือหากเกิดอุบัติเหตุในสถานที่เปลี่ยนควรจดจำ ทะเบียนรถ สี ยี่ห้อ ตำหนิและสถานที่เกิดเหตุเพื่อแจ้งเจ้าหน้าที่ภายหลัง

2. คิดก่อนพูด

ไม่ควรกล่าวคำขอโทษหากยังไม่รู้แน่ชัดว่าในสถานการณ์นั้นใครที่เป็นฝ่ายผิด เพราะจะทำให้อีกฝ่ายอ้างขึ้นมาว่าคุณเป็นฝ่ายที่ยอมรับผิด และจำไว้เสมอว่าคุณไม่มีอำนาจในการตัดสินว่าใครผิดใครถูก

3. ให้ข้อมูล 

เกี่ยวกับตัวคุณ ชื่อ-ที่อยู่ เลขทะเบียนรถและชื่อประกันที่คุณมีแก่คู่กรณีหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ

4. หาข้อมูล 

หลังจากให้ข้อมูลข้างต้นแล้วคุณควรขอข้อมูลจากคู่กรณีเช่นเดียวกัน หากอีกฝ่ายไม่ให้ คุณควรจดเลขทะเบียน รูปพรรณของรถเอาไว้ อย่าพยายามยึดใบขับขี่คู่กรณีเพราะคุณจะโดนข้อหาลักทรัพย์ได้

5. แจ้งตำรวจ 

หลังเกิดเหตุ แม้ในกรณีที่เป็นอุบัติเหตุเล็กน้อยหรืออีกฝ่ายยอมรับผิดก็ตาม เพราะถ้าหากอีกฝ่ายมาแจ้งความภายหลัง เจ้าหน้าที่จะสรุปว่าคุณหลบหนีและคุณจะเป็นฝ่ายผิดในทุกกรณี หากไม่มีเจ้าหน้าที่ในที่เกิดเหตุให้คุณไปแจ้งความที่สถานีตำรวจเพื่อให้เจ้าหน้าที่ดูที่เกิดเหตุและตีเส้นตำแหน่งรถอย่าเลื่อนรถจนกว่าจะมีเจ้าหน้าที่มาถึง หากกรณีที่ไม่สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้เลย ให้คุณทำหนังสือยืนยันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไว้เป็นหลักฐานโดยลงชื่อคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายไว้ด้วย อย่าหลงเชื่อคู่กรณีเด็ดขาด

6. หาพยาน 

เช่น คนเดินถนน หรือรถคันข้างๆหากเขายินยอมเป็นพยาน ให้จดชื่อ-ที่อยู่เพื่อติดต่อเอาไว้ในกรณีเหตุซับซ้อน หรือหลักฐานในรูปแบบการถ่ายรูปภาพจากกล้องโทรศัพท์มือถือ คลิปจากกล้องติดรถ หลักฐานเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี

7. ไปโรงพยาบาล 

หากคุณสงสัยว่าได้รับบาดเจ็บ ควรไปรอแพทย์เพื่อตรวจ หากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายและการเรียกร้องค่าเสียหายในภายหลังจะยากขึ้นด้วย

8. แจ้งความ 

กรณีที่มีผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต จะต้องไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ทันที แม้กฎหมายจะผ่อนปรนให้แจ้งความใน 6 เดือน เพราะบริษัทประกันส่วนใหญ่ไม่รับรองใบแจ้งความย้อนหลัง

9. ตกลงเงื่อนไขการจ่ายค่าเสียหาย 

ซึ่งควรเรียกเจ้าหน้าที่ประกันภัยรถของคุณมายังที่เกิดเหตุทันทีและสามารถรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ประกัน (ตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน)

10. อย่ารีบยอมความ 

ในกรณีที่อีกฝ่ายยอมรับผิด และคุณสงสัยว่าจะได้รับบาดเจ็บอย่าเพิ่งรีบรับข้อเสนอให้ยอมความ เพราะการบาดเจ็บของคุณ อาจจะต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะรู้ว่าอาการของคุณรุนแรงเพียงใด หากคุณยอมความไปแล้ว การเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติม จะทำได้ยากขึ้น

ดังนั้นทุกครั้งที่ขับรถออกจากบ้านไปบนท้องถนน ไม่ว่าจะเส้นทางไหน เราควรมีสติอยู่ตลอดเวลา ระมัดระวังทุกการขับขี่ และสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อช่วยเพิ่มความอุ่นใจในทุกการเดินทาง อย่าลืมเลือกประกันรถยนต์ให้เข้ามาช่วยดูแลอย่างครอบคลุม ซึ่งทางเอเชียไดเร็ค โบรคเกอร์ มีตัวเลือกชั้นนำมากมายรอคุณอยู่ หากต้องการเปรียบเทียบ หรือขอคำปรึกษาเพิ่มเติม สามารถเริ่มต้นติดต่อตอนนี้ได้เลยที่ https://asiadirect.co.th/ หรือ 02-089-2000

บทความขับขี่ปลอดภัย
Rabbit Care Blog Image 1055

ขับขี่ปลอดภัย

อาการยางบวมเกิดจากอะไร สามารถขับต่อได้ไหม และต้องแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง

อาการยางบวมเป็นอะไรที่น่าเป็นห่วงยางมากหากเกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง ดังนั้นใครที่เดินทางข้ามจังหวัด หรือมีการใช้งานรถยนต์บ่อยครั้ง
คะน้าใบเขียว
clock icon06/02/2024
Rabbit Care Blog Image 1040

ขับขี่ปลอดภัย

รู้หรือไม่ว่าในประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับรถป้ายแดงอยู่ด้วย

เวลาออกรถใหม่มาใครก็เรียกรถป้ายแดงดันทั่วประเทศ แต่รู้หรือไม่ว่าการใช้งานรถยนต์ที่มีป้ายแดงติดอยู่ มีข้อกำหนดด้านกฎหมายที่หลากหลายมากกว่าที่คุณคิด
คะน้าใบเขียว
clock icon23/01/2024
Rabbit Care Blog Image 1013

ขับขี่ปลอดภัย

พรบ รถ คืออะไร? มีความคุ้มครองแตกต่างจากประกันรถยนต์มากน้อยแค่ไหน

นอกเหนือจากประกันรถยนต์ภาคสมัครใจที่เราเลือกทำได้เองแล้ว ยังมีประกัน พรบ. รถ ที่กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องมี
คะน้าใบเขียว
clock icon02/01/2024