ขับขี่ปลอดภัย

ขับรถอยู่ดี ๆ “ยางแตก” ต้องทำยังไง อันตรายหรือไม่? รับมือได้ยังไงบ้าง?

ผู้เขียน : Varanya C.

Be youeself, be happy with that ...

Published March 02, 2023
tire broken while driving

สำหรับผู้ใช้รถยนต์ในเมืองร้อนหลาย ๆ คน ไม่มีอะไรน่ากลัวไปกว่าอันตรายจากยางแตกระหว่างขับรถอีกแล้วใช่ไหม แม้ว่ารถยนต์รุ่นใหม่ ๆ จะมีระบบเช็คความดันของยางรถแบบอัตโนมัติ แต่อุบัติเหตุจากยางระเบิดยังเกิดขึ้นได้อยู่ดี และยิ่งมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ช่วยเช็คความดันยาง ทำให้เหตุการณ์ยางแตกไม่ค่อยเกิดขึ้น ก็ยิ่งทำให้คนขับไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี เมื่อยางแตกบนท้องถนนขึ้นจริง ๆ ยังไงก็แล้วแต่ สิ่งแรกที่ขอแนะนำก็คือ เพื่อน ๆ ต้องตั้งสติและควบคุมรถยนต์ที่กำลังขับอยู่ให้ได้ก่อนนะ

เราจะรู้ได้ยังไงว่า “ยางแตก” ?

เสียงที่จะเตือนเพื่อน ๆ ว่ายางแตกนั้นมีสามแบบ ได้แก่ หนึ่ง เพื่อน ๆ อาจจะได้ยินเสียงระเบิดดังขึ้น และเจออาการรถยนต์สั่นไปทั้งคัน หลังจากนั้น เพื่อน ๆ อาจจะได้ยินเสียงลมพุ่งออกจากยางรถ และสุดท้ายเพื่อน ๆ อาจจะได้ยินเสียงเพลีย ๆ ของยางแบนที่วิ่งไปบนถนน

ยางแตกแล้วยังไงต่อ?

พอยางแตกในระหว่างที่รถกำลังเคลื่อนที่อยู่ เพื่อน ๆ จะรู้สึกได้เลยว่ารถวิ่งช้าลง จากนั้นรถจะส่ายไปทางซ้ายหรือขวาขึ้นอยู่กับว่ายางแตกที่ล้อด้านไหน ถ้าเป็นยางล้อหน้า เพื่อน ๆ จะรู้สึกถึงความฝืดที่พวงมาลัย ส่วนถ้าเป็นยางล้อหลัง ผู้โดยสารก็จะรู้สึกได้จากเบาะที่นั่ง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะยางแตกที่ล้อหน้าหรือล้อหลัง คนขับก็ต้องทำตัวเหมือนกันในทั้งสองกรณี

ควรขับรถอย่างไรต่อเมื่อยางแตก?

ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ เมื่อยางแตก คนขับควรทำต่อไปนี้ 

1. จับพวงมาลัยให้มั่น 

ทุกครั้งเวลาขับรถ คุณจำเป็นต้องจับพวงมาลัยให้มั่น เพราะหากคุณจับมือเดียว หรือเล่นโทรศัพท์ไปด้วย นั่นแปลว่าคุณจะควบคุมทิศทางของรถยนต์ได้ยากขึ้น อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมาได้ เช่น การขับไปชนรถคันข้างหน้า 

2. ห้ามเหยียบเบรกเอี๊ยดกะทันหัน 

การเบรกกระทันหันอาจทำให้รถเสียหลักและเกิดพลิกคว่ำได้ ดังนั้นเมื่อเบรกแตกคุณควรค่อย ๆ เหยียบเบรก แต่ไม่ควรเบรกกระทันหัน มากไปกว่านั้น การเบรกแบบแรง ๆ จะทำให้เบรก ABS ทำงานโดยไม่จำเป็น และอาจทำให้เบรกเสื่อมเร็วขึ้นอีกด้วย 

3. ปล่อยให้รถค่อย ๆ ลดความเร็วลงไปเอง 

เมื่อเบรกแตก นอกจากห้ามเหยียบเบรกกระทันหัน ก็ห้ามเหยียบคันเร่งเพิ่มเด็ดขาด แต่สิ่งที่ควรทำที่สุดคือปล่อยให้รถค่อย ๆ ลดความเร็วไปเอง ในทางที่ดีคุณควรขับรถในความเร็วไม่เกิน 80 เพื่อความปลอดภัยนและลดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่อาจเกิดขึ้นได้ 

4. เมื่อความเร็วของรถช้าลงถึงระดับที่ปลอดภัยแล้วให้เลี้ยวจอดข้างทาง 

หลังจากที่รถค่อย ๆ ช้าลงแล้ว ขอแนะนำให้คุณจอดข้างทางเพื่อความปลอดภัย หลังจากนั้นให้โทรหาอู่ซ่อมรถให้เร็วที่สุด มากไปกว่านั้นหากคุณสามารถเปลี่ยนยางวเองได้ ก็จะดีมากเพราะจะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย 

5. เปิดสัญญาณไฟกระพริบฉุกเฉินให้รถคันอื่นรู้ว่ารถมีปัญหา

เมื่อยางแตกสิ่งแรกที่คุณทำคือ การเปิดไฟฉุกเฉินให้คนคันข้างหลังรู้ว่าเราเกิดปัญหาและไม่สามารถขับต่อไป เพื่อเป็นการลดกาทรเกิดอุบัติเหตุ เพราะหากคุณไม่มีสัญญาณเตือน รถคันข้างหลังอาจไม่รู้และเผลอชนท้ายคุณได้ 

หลังจากนั้น เพื่อน ๆ ควรลงจากรถเมื่อเห็นตัวเองปลอดภัยจากการจราจรรอบข้าง ถ้ามีกรวยถนนอยู่แถวนั้น เพื่อน ๆ ควรนำมาขวางไว้เพื่อให้รถคนอื่น ๆ รู้และไม่วิ่งเข้ามาชน เพื่อนๆ ควรจะทำการเปลี่ยนยางเองเฉพาะถ้าเรารู้วิธีและชำนาญเท่านั้น ไม่งั้นก็โทรเรียกช่างมาเปลี่ยนให้จะดีกว่าเยอะ และอย่าลืมว่าทุกครั้งที่เดินทาง โดยเฉพาะไปเที่ยวระยะไกล เพื่อน ๆ ควรมียางสำรองติดรถไปด้วยเสมอ รวมทั้งเครื่องมือและคู่มือในการเปลี่ยนยาง สำหรับกรณีที่ยางแตกอยู่กลางทางที่ไม่สามารถหาช่างใกล้ ๆ ได้และเพื่อน ๆ จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนยางเอง

ยางแตก สามารถป้องกันได้หรือไม่? 

จริง ๆ แล้วเหตุการณ์ยางแตกนี้เป็นสิ่งที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ โดยทั่วไปเหตุการณ์ยางแตกจะเกิดขึ้นในช่วงหน้าร้อน แต่ถ้าอยู่ในประเทศที่เกือบทั้งปีคือหน้าร้อนอย่างบ้านเรา ก็ถือซะว่ายางแตกสามารถเกิดขึ้นเกือบทั้งปี ยกเว้นช่วงฝนตกชุกชุมนั่นแหละ แต่เพื่อน ๆ สามารถป้องกันยางแตกได้ โดยการหมั่นตรวจเช็คยางรถว่ามีรูรั่วหรือเปล่า หรือความดันยางอยู่ในระดับพอดีหรือไม่ และอย่าขนของบนรถหนักเกินกว่าที่คู่มือการใช้รถกำหนด กิจวัตรเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้จะสามารถช่วยป้องกันยางแตกได้แน่นอน

เพื่อน ๆ เห็นไหมว่า แม้ว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่จะมีระบบอัตโนมัติที่ช่วยป้องกันยางแตก ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่อาจทำให้ผู้ใช้รถเสียทรัพย์สินหรือชีวิตได้ แต่ผู้ใช้รถก็จำเป็นที่จะต้องหมั่นตรวจทานสภาพรถ สภาพยางของตนเองด้วย เพราะเหตุการณ์ไม่คาดคิดบนท้องถนนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้น การมีประกันอุบัติเหตุหรือประกันรถยนต์ ของเอเชียไดเร็ค โบรคเกอร์ ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเราได้

บทความขับขี่ปลอดภัย
Rabbit Care Blog Image 1055

ขับขี่ปลอดภัย

อาการยางบวมเกิดจากอะไร สามารถขับต่อได้ไหม และต้องแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง

อาการยางบวมเป็นอะไรที่น่าเป็นห่วงยางมากหากเกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง ดังนั้นใครที่เดินทางข้ามจังหวัด หรือมีการใช้งานรถยนต์บ่อยครั้ง
คะน้าใบเขียว
clock icon06/02/2024
Rabbit Care Blog Image 1040

ขับขี่ปลอดภัย

รู้หรือไม่ว่าในประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับรถป้ายแดงอยู่ด้วย

เวลาออกรถใหม่มาใครก็เรียกรถป้ายแดงดันทั่วประเทศ แต่รู้หรือไม่ว่าการใช้งานรถยนต์ที่มีป้ายแดงติดอยู่ มีข้อกำหนดด้านกฎหมายที่หลากหลายมากกว่าที่คุณคิด
คะน้าใบเขียว
clock icon23/01/2024
Rabbit Care Blog Image 1013

ขับขี่ปลอดภัย

พรบ รถ คืออะไร? มีความคุ้มครองแตกต่างจากประกันรถยนต์มากน้อยแค่ไหน

นอกเหนือจากประกันรถยนต์ภาคสมัครใจที่เราเลือกทำได้เองแล้ว ยังมีประกัน พรบ รถ ที่กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องมี
คะน้าใบเขียว
clock icon02/01/2024