ขับขี่ปลอดภัย

พรบ รถ คืออะไร? มีความคุ้มครองแตกต่างจากประกันรถยนต์มากน้อยแค่ไหน

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด ผู้พยายามเข้าใจมักเกิ้ล นิยมชมชอบกลางคืน สามารถผูกมิตรได้ด้วยของกินอร่อยๆ ตอนนี้กำลังหลบลี้หนีภัยจากออฟฟิศซินโดรมอยู่

Published January 02, 2024
พรบ รถ

นอกเหนือจากประกันรถยนต์ภาคสมัครใจที่เราเลือกทำได้เองแล้ว ยังมีประกัน พรบ รถ ที่กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องมี เพื่อเป็นเหมือนการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุในเบื้องต้น รวมถึงความสำคัญของ พรบ รถ ในด้านการคุ้มครองที่จะช่วยให้ผู้ขับขี่ หรือเจ้าของรถยนต์ไม่ต้องรับภาระหนักเกินไป หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นบนท้องถนน เจ้าของรถทุกคนจึงควรทำความรู้จัก และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พรบ รถเอาไว้ให้มากที่สุด

 

พรบ คืออะไร

พรบ คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามที่ได้กำหนดเอาไว้ใน พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งเนื้อหาทางกฎหมายได้ระบุเอาไว้ว่าเจ้าของรถที่มีชื่อในเล่มทะเบียน หรือผู้ครอบครองรถในกรณีที่เป็นผู้เช่าซื้อ ต้องทำการต่อ พรบ รถ อย่างต่อเนื่องทุกปี เพราะความสำคัญของประกันภาคบังคับ หรือ พรบ รถนี้จะช่วยคุ้มครองผู้ประสบภัยทางรถยนต์ โดยที่ไม่ต้องห่วงว่าใครเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก 

 

พรบ รถ คุ้มครองอะไรบ้าง

พรบ รถ คุ้มครองอะไรบ้าง คำตอบ คือ คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น และคุ้มครองค่าสินไหมทดทน โดยรายละเอียดในการคุ้มครองนั้นก็จะมีอยู่หลายกรณี ซึ่งเจ้าของรถยนต์มือใหม่ หรือคนที่ยังไม่เคยรู้รายละเอียดมาก่อน สามารถเลื่อนลงไปอ่านทำความเข้าใจในการคุ้มครองจาก พรบ รถ ได้ทีละหัวข้อดังต่อไปนี้

 

คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น

พรบ รถ กับการคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับใครก็ตามที่ประสบอุบัติเหตุรถชน จะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยแบ่งเป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ, ค่าเสียหายกรณีทุพพลภาพ และค่าปลงศพกรณีที่มีการเสียชีวิต ซึ่งความคุ้มครองค่าเสียหายทั้งหมดที่กล่าวมา ไม่จำเป็นต้องรอการพิสูจน์ความผิด แต่ทางบริษัทประกันของ พรบ รถ ที่เราทำเอาไว้ จะชดใช้ให้กับผู้ประสบภัยภายใน 7 วันหลังจากที่บริษัทได้รับการรองขอมาแล้ว 

 

สำหรับรายละเอียดการคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นทั้ง 3 กรณีของ พรบ รถ จะมีรายละเอียดการคุ้มครองดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ สำหรับผู้ที่ประสบภัยในเหตุการณ์ จะได้รับเป็นค่าชดเชยค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
  • ค่าเสียหายกรณีทุพพลภาพ หากในอุบัติเหตุมีผู้ที่สูญเสียอวัยวะ หรือทำให้ทุพพลภาพถาวร พรบ รถ จะมีการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นที่ 35,000 บาท/คน
  • ค่าปลงศพกรณีที่มีการเสียชีวิต ซึ่งจะชดใช้ให้กับทายาทโดยธรรมฝ่ายผู้เสียชีวิตเป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นจำนวน 35,000 บาท/คน (หากเป็นกรณีเสียชีวิตหลังจากการรักษาพยาบาล ทางบริษัท พรบ รถ จะชดใช้ให้เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 65,000 บาท/คน)

การคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นของทาง พรบ รถ จะเน้นไปที่การดูแลบุคคลในอุบัติเหตุเพียงอย่างเดียว จะไม่มีการดูแลครอบคลุมไปถึงเรื่องค่าซ่อมรถ หรือรับผิดชอบเรื่องทรัพย์สินแต่อย่างใด ดังนั้นหากคุณต้องการให้มีการดูแลช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายนอกเหนือจาก พรบ รถ ต้องมีการพิจารณาเลือกประกันภาคสมัครใจเข้ามาดูแลคุ้มครองเพิ่มเติมนั่นเอง

อ้างอิงข้อมูลพื้นฐานการดูแลคุ้มครองบางส่วนจากคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน

พรบ รถ กับการคุ้มครองค่าสินไหมทดแทน คือ การชดใช้ค่าเสียหายของทางบริษัทประกัน หลังจากที่มีการพิสูจน์และสรุปเหตุการณ์เรียบร้อยแล้วฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด หรือฝ่ายถูก ซึ่งค่าสินไหมที่ พรบ รถ จะดูแลมีรายละเอียดดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ อ้างอิงจากใบเสร็จการรับเงิน โดยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  • ค่าเสียหายกรณีทุพพลภาพถาวร หรือเสียชีวิต จะมีการชดใช้ค่าเสียหาย 500,000 บาท/คน
  • ค่าเสียหายกรณีสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน จะมีการชดใช้ค่าเสียหาย 250,000 บาท/คน
  • ค่าเสียหายกรณีสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป จะมีการชดใช้ค่าเสียหาย 500,000 บาท/คน
  • ค่าเสียหายกรณีสูญเสียนิ้ว ตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไป จะมีการชดใช้ค่าเสียหาย 250,000 บาท/คน
  • ค่าเสียหายกรณีเข้ารับการรักษาในฐานผู้ป่วยในภายในสถานพยาบาล จะมีการชดใช้ค่าเสียหาย 200 บาท/วัน รวมกันแล้วไม่เกิน 20 วัน

ถึงแม้ พรบ รถ จะใช้คำว่าสินไหมทดแทน แต่ในส่วนนี้ยังเป็นการรับผิดชอบต่อตัวบุคคลเช่นเดิม เพียงแต่มีวงเงินการดูแลรักษาที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั่นเอง ฉะนั้นแล้วขั้นพื้นฐานที่กฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องมี พรบ รถ เพื่อที่จะต่างฝ่ายต่างมีบริษัทประกันเข้ามาช่วยดูแลเรื่องเหล่านี้เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น โดยที่ไม่ต้องแบกรับภาระหนักเพียงคนเดียว เพราะมีประกันเข้ามาช่วยเหลือเพิ่มเติมให้ด้วย

 

พรบ คือ

 

ราคา พรบ รถ แต่ละประเภท

ราคา พรบ รถ แต่ละประเภทนั้นจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถแบ่งได้ประมาณ 3 ประเภท คือ ประเภทรถโดยสาร, ประเภทรถบรรทุก และประเภทรถมอเตอร์ไซค์ ค่าใช้จ่ายจะมีดังตารางต่อไปนี้

 

ราคา พรบ ประเภทรถโดยสาร

ประเภทรถ

ราคา พรบ 

รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง)

600 บาท

รถยนต์โดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง)

600 บาท 

รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้)

1,100 บาท

รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง

2,050 บาท

รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง

3,200 บาท

รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง

3,740 บาท

 

ราคา พรบ ประเภทรถบรรทุก

ประเภทรถ

ราคา พรบ 

รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ)

900 บาท

รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน

1,220 บาท

รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน

1,310 บาท

รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม ไม่เกิน 12 ตัน

1,680 บาท

รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม เกิน 12 ตัน

2,320 บาท

 

ราคา พรบ ประเภทรถมอเตอร์ไซค์

ประเภทรถ

ราคา พรบ 

รถมอเตอร์ไซค์เครื่องยนต์ไม่เกิน 75 ซีซี 

150 บาท

รถมอเตอร์ไซค์เครื่องยนต์ 75-125 ซีซี 

300 บาท

รถมอเตอร์ไซค์เครื่องยนต์ 125-150 ซีซี

400 บาท

รถมอเตอร์ไซค์เครื่องยนต์ 150 ซีซีขึ้นไป

600 บาท

 

พรบ รถ ซื้อล่วงหน้าได้สูงสุดกี่วัน

พรบ รถ สามารถซื้อล่วงหน้าได้สูงสุดไม่เกิน 90 วัน ซึ่งเหมาะสำหรับกับคนที่มีความกังวลว่าจะลืมต่อ พรบ ก่อนไปต่อภาษี เพื่อไม่ให้ถูกปรับหรือลงโทษตามกฎหมาย พอนึกออกว่าต้องต่อ พรบ รถ ก็สามารถเตรียมเอกสารเพื่อทำการต่อล่วงหน้าได้เลยตามจำนวนวันที่เราแจ้งไป 

 

ถ้าไม่ทำ พรบ รถ มีโทษทางกฎหมายอย่างไร

กรณีที่เราไม่ทำ พรบ รถ จะมีโทษตามกฎหมายโดยหลักอยู่ 3 ข้อด้วยกัน สามารถแยกรายละเอียดโทษทางกฎหมายเมื่อรถไม่มี พรบ ได้ดังรายการนี้

  • หากเจ้าของรถไม่มี พรบ จะถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  • หากมีคนนำรถไปใช้งาน แล้วรถคันนั้นไม่มีการต่อ พรบ จะถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาทเช่นกัน
  • หากเจ้าของรถไม่ทำประกัน พรบ และได้มีการนำรถไปใช้ตามปกติ จะถือว่ามีความผิด 2 กระทง ทำให้โทษปรับสูงสุดเพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 20,000 บาท

เทียบจากค่าทำ พรบ รถ ที่เริ่มต้นเพียงไม่กี่ร้อยบาท แลกกับโอกาสการถูกปรับสูงสุดถึง 10,000 บาทแบบนี้ไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย แถมในปัจจุบันเราสามารถต่อ พรบ ได้อย่างง่ายดาย ลองค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมดูได้เลย ใคร พรบ รถ ใกล้หมดอายุ รีบต่อล่วงหน้าไว้จะดีกว่า

 

ถ้าไม่มี พรบ รถ ต่อภาษีได้ไหม

สุดท้ายนี้ถ้าเราไม่มี พรบ รถ สามารถต่อภาษีได้ตามปกติหรือไม่ คำตอบ คือ ไม่ได้อย่างแน่นอน เนื่องจากทางภาครัฐและกฎหมายกำหนดให้การต่อภาษีรถ ต้องมีเอกสาร พรบ รถ ประกอบด้วย ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถต่อภาษีได้ และถ้าหากเราปล่อยให้ภาษีรถขาดเกินกว่า 3 ปีขึ้นไป อาจส่งผลให้ทะเบียนรถมีสิทธิ์ถูกระงับถาวร และยังต้องเสียเวลาไปขอป้ายทะเบียนใหม่อีกต่างหาก

ไม่อยากทำให้เรื่องราวบานปลาย การต่อ พรบ รถ ให้ตรงเวลา และต่อเนื่อง ถือเป็นเรื่องปกติที่เจ้าของรถทุกคนควรทำ รวมถึงการพิจารณาเลือกประกันรถภาคสมัครใจเพิ่มเติม อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วในเนื้อหาด้านบน ซึ่งทาง เอเชียไดเร็ค พร้อมให้คำปรึกษา และความช่วยเหลือเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกประกันรถยนต์ที่เหมาะสมกับการใช้งานรถของคุณมากที่สุดได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่เบอร์ 02-089-2000 หรือไลน์แอด @asiadirect ตอนนี้เรามีข้อเสนอสุดพิเศษที่มอบส่วนลดให้คุณได้สูงสุดถึง 70% หรือจะเลือกผ่อน 0% นาน 10 เดือนก็ได้เช่นกัน

บทความขับขี่ปลอดภัย
Rabbit Care Blog Image 1055

ขับขี่ปลอดภัย

อาการยางบวมเกิดจากอะไร สามารถขับต่อได้ไหม และต้องแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง

อาการยางบวมเป็นอะไรที่น่าเป็นห่วงยางมากหากเกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง ดังนั้นใครที่เดินทางข้ามจังหวัด หรือมีการใช้งานรถยนต์บ่อยครั้ง
คะน้าใบเขียว
clock icon06/02/2024
Rabbit Care Blog Image 1040

ขับขี่ปลอดภัย

รู้หรือไม่ว่าในประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับรถป้ายแดงอยู่ด้วย

เวลาออกรถใหม่มาใครก็เรียกรถป้ายแดงดันทั่วประเทศ แต่รู้หรือไม่ว่าการใช้งานรถยนต์ที่มีป้ายแดงติดอยู่ มีข้อกำหนดด้านกฎหมายที่หลากหลายมากกว่าที่คุณคิด
คะน้าใบเขียว
clock icon23/01/2024
Rabbit Care Blog Image 1010

ขับขี่ปลอดภัย

อยากทำใบขับขี่สากล ทำที่ไหน ใช้ได้กี่ประเทศ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

ตอนนี้สถานการณ์ท่องเที่ยวต่างประเทศกลับมาเป็นปกติแล้ว หลายคนอาจต้องการทำใบขับขี่สากลเตรียมพร้อมไว้
คะน้าใบเขียว
clock icon28/12/2023