ขับขี่ปลอดภัย

รถดับกลางอากาศ เกิดขึ้นได้จากอะไร และสามารถรับมือได้อย่างไรบ้าง?

ผู้เขียน : Varanya C.

Be youeself, be happy with that ...

Published March 13, 2023
รถดับกลางอากาศ

เหตุการณ์ฉุกเฉินเกี่ยวกับรถยนต์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ บางครั้งเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่เราสามารถป้องกันและรับมือได้ สำหรับรถดับกลางอากาศ เป็นเรื่องสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคน เมื่อเกิดเหตุการณ์บางคนอาจจะไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรดี? วันนี้ เอเชียไดเร็ค จึงนำวิธีในการแก้ไขปัญหารถดับมาฝากเพื่อนๆกันค่ะ ไปดูกันเลย! 

1. เหยียบคลัชท์ค้างไว้

หากรถยนต์ของคุณ ใช้เกียร์ธรรมดา ให้คุณเหยียบคลัชท์ค้างไว้ แล้วค่อยๆเบรคลงอย่างช้าๆ และบังคับรถเข้าข้างทาง แต่คุณรู้ไหมว่าในขณะขับรถ หากคุณวางเท้าไว้ที่บริเวณแป้นคลัทซ์ จะทำให้อุยุการใช้งานของคลัทซ์สั้นลง เนื่องจากการเกยียบลงไปที่คลัทซ์เป็นการส่งแรงและน้ำหนัก ทำให้คลัทซ์ทำงานอยู่ตลอดเวลา หากทำเรื่อย ๆ จะทำให้คลัทซ์หมดหรือไหม้ได้ หากใครมีพฤติกรรมแบบนี้อยู่ควรรีบหยุดทันที ไม่เพียงแต่ทำให้รถเสียแต่จะทำให้คุณเสียเงินค่าซ่อมอีกต่างหาก 

2. เข้าเกียร์ N 

เกียร์ออโต้ประกอบไปด้วย 4 สัญลักษณ์คือ N (เกียร์ว่าง), P(เกียร์จอด), R(เกียร์ถอยหลัง), และ D(เกียร์เดินหน้า) ทั้งสี่เกียร์ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นตัวควบคุมทิศทางของรถยนต์ หากเกียร์ใดเกียร์หนึ่งทำงานผิดปกติไป อาจทำให้เกิดผลเสียตามมาได้ เช่น เกิดอุบัติเหตุ รถชน รถเสียหลัก อย่างไรก็ตาม หากรถดับกลางอากาศ ถ้าหากในกรณีของรถเกียร์ออโต้ ให้คุณปรับเกียร์มาที่ตัว N เพื่อเป็นการปลดเฟืองเกียร์ ไม่ให้เกียร์พัง

3. เปิดไฟฉุกเฉิน

โดยทั่วไปแล้วไฟฉุกเฉิน จะอยู่ตรงกลางระหว่างแอร์สองข้าง เมื่อรถจอดสนิทแล้วให้เปิดไฟฉุกเฉิน หลังจากนั้นลองสตาร์ทรถดูอีกที ถ้ารถติดก็แสดงว่าสามารถไปต่อได้ 

 หากยังไม่ติดให้คุณลองดับเครื่องและสตาร์ทรถอีกที   

4. เปิดฝากระโปรง 

ในฝากระโปรงของรถยนต์ประกอบไปด้วยหัวเทียน จานจ่ายไฟ ห้อกรองอากาศ กล่องฟิวส์ กล่องพิวส์แอร์ แบตเตอรี่ ถังพักน้ำสำรอง พัดลมเครื่องยนต์ พัดลมแอร์ ฝาหม้อน้ำ ถังเก็บน้ำฉีดกระจก ฝาเติมน้ำมันเครื่อง ถ้วยเก็บน้ำมันเบรก เป็นต้น ในกรณีรถดับกลางทาง คุณควรเปิดฝากระโปรงเพื่อเช็คความแน่นของขั้วแบตเตอรี่ว่าแน่นดีไหม หรือเช็คคอยล์หัวเทียนลองขยับดู แล้วลองสตาร์ทดูอีกครั้ง หากสตาร์ทติดก็สามารถขับต่อได้ แต่ควรปิดฝากระโปรงด้วยความระมัดระวัง เพราะมีหลายกรณีมากที่นิ้วหักเพราะฝากระโปรงรถหล่นทับมือ

5. เข็นรถ

ถ้ารถเป็นเกียร์ธรรมดา จะได้เปรียบกว่ารถเกียร์ออโต้นิดหน่อย เพราะสามารถเข็นเพื่อสตาร์ทเครื่องได้ โดยการขอช่วยแรงคนที่ผ่านไปมาละแวกที่รถดับ สัก 2 คนขึ้นไปมาช่วยเข็น วิธีการก็คือ ให้เข้าเกียร์ 2                เหยียบคลัชท์ค้างไว้ แล้วให้เข็นรถออกไป พอรู้สึกว่าความเร็วเริ่มได้แล้ว ก็ปล่อยคลัชท์แล้วเข้าเกียร์ แต่สำหรับเกียร์ออโต้ไม่สามารถทำแบบนี้ได้

6. โทรหารถลาก

ถ้าลองทำตามวิธีที่บอกมาทั้งหมดแล้วแต่ก็ยังไม่ติด สุดท้ายก็ต้องโทรหาบริการรถลาก เพื่อทำการลากไปเช็คที่อู่ ตรวจหาสาเหตุของรถต่อไป

รถดับสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น น้ำมันหมด อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในรถดูไม่สะอาด มีสนิม หรือหลวม มากไปกว่านั้นรถดับอาจเกิดจากการที่แบตเตอรี่หมดหรือเสื่มสภาพ ดังนั้นคุณควรเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ทุก ๆ 1 ปี และควรตรวจสภาพรถเมื่อถึงเวลาเช็คระยะรถยนต์ อาจทำที่ศูนย์ อู่ หรือผู้ให้บริการรายย่อยใกล้บ้านคุณ 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นในกรณีเมื่อรถดับ เพื่อนๆลองนำวิธีเหล่านี้ไปลองทำกันดูนะ เมื่อเกิดเหตุเหล่านี้อย่าตกใจ ตั้งสติ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ อย่าไรก็ตามก็อยากแนะนำให้คุณซื้อประกันรถยนต์ของ เอเชียไดเร็ค ติดตัวเอาไว้สักหนึ่งฉบับ มาพร้อมกับเจ้าทหน้าที่ที่พร้อมให้บริการคุณทุกเมื่อเมื่อเกิดปัญหา หากสนใจ โทรเลยที่ 02-089-2000  

บทความขับขี่ปลอดภัย
Rabbit Care Blog Image 1055

ขับขี่ปลอดภัย

อาการยางบวมเกิดจากอะไร สามารถขับต่อได้ไหม และต้องแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง

อาการยางบวมเป็นอะไรที่น่าเป็นห่วงยางมากหากเกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง ดังนั้นใครที่เดินทางข้ามจังหวัด หรือมีการใช้งานรถยนต์บ่อยครั้ง
คะน้าใบเขียว
clock icon06/02/2024
Rabbit Care Blog Image 1040

ขับขี่ปลอดภัย

รู้หรือไม่ว่าในประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับรถป้ายแดงอยู่ด้วย

เวลาออกรถใหม่มาใครก็เรียกรถป้ายแดงดันทั่วประเทศ แต่รู้หรือไม่ว่าการใช้งานรถยนต์ที่มีป้ายแดงติดอยู่ มีข้อกำหนดด้านกฎหมายที่หลากหลายมากกว่าที่คุณคิด
คะน้าใบเขียว
clock icon23/01/2024
Rabbit Care Blog Image 1013

ขับขี่ปลอดภัย

พรบ รถ คืออะไร? มีความคุ้มครองแตกต่างจากประกันรถยนต์มากน้อยแค่ไหน

นอกเหนือจากประกันรถยนต์ภาคสมัครใจที่เราเลือกทำได้เองแล้ว ยังมีประกัน พรบ รถ ที่กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องมี
คะน้าใบเขียว
clock icon02/01/2024