ขับขี่ปลอดภัย

เมาแล้วขับ โทษมีอะไรบ้าง? หากเกิดอุบัติเหตุประกันจ่ายไหม

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด ผู้พยายามเข้าใจมักเกิ้ล นิยมชมชอบกลางคืน สามารถผูกมิตรได้ด้วยของกินอร่อยๆ ตอนนี้กำลังหลบลี้หนีภัยจากออฟฟิศซินโดรมอยู่

Published December 12, 2023
เมาแล้วขับ

การเกิดอุบัติเหตุจากเมาแล้วขับถือเป็นส่วนสำคัญมากในประเทศไทย เพราะมีหลายจังหวัดที่หากเข้าช่วงเทศกาลแล้วจะเกิดอุบัติเหตุลักษณะนี้ขึ้นมาจำนวนมาก ทำให้ทางภาครัฐได้มีการปรับเปลี่ยนกฎหมายเมาแล้วขับใหม่อีกครั้ง เพื่อให้มีความรุนแรงมากขึ้น และเสมือนกับเป็นการเตือนสติประชาชนว่าห้ามเมาแล้วขับ ไม่อย่างนั้นอาจถูกดำเนินการทางกฎหมายให้มากที่สุด ซึ่ง เอเชียไดเร็ค อยากเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวเรื่องกฎหมายเมาแล้วขับ จึงได้เตรียมข้อมูลในหลาย ๆ ส่วนรวมไว้ให้แล้วในบทความนี้

 

ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือกเท่าไหร่ถือว่าเมาแล้วขับ

กฎกระทรวงฉบับเก่าได้ให้เขียนไว้ว่า หากผู้ขับขี่มีแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถือว่าเมาแล้วขับตามกฎกระทรวงฉบับที่ 16 พ.ศ.2537 ออกความใน พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ข้อ 3 แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาความกฎหมาย และมีการเพิ่มเติมรายละเอียดอื่น ๆ ลงไปจากเดิม ซึ่งก็คือ ผู้ขับขี่ใน 4 กรณีต่อไปนี้ หากมีแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถือว่าเมาแล้วขับ โดยผู้ขับขี่ทั้ง 4 กรณีมีดังนี้

  • ผู้ขับขี่ที่อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
  • ผู้ขับขี่ที่ยังใช้ใบขับขี่ชั่วคราวอยู่ (ใบขับขี่แบบ 2 ปี)
  • ผู้ขับขี่ทีมีใบขับขี่ประเภทอื่นซึ่งใช้ทดแทนกันไม่ได้
  • ผู้ขับขี่ที่ถูกยกเลิก หรือถูกสั่งให้อยู่ระหว่างการพักใช้งานใบขับขี่

 

เมาแล้วขับ โทษทางกฎหมายมีอะไรบ้าง

เมาแล้วขับ โทษทางกฎหมายมีอะไรบ้าง คำตอบ คือ ต้องเสียค่าปรับตามกฎหมายหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งกรณีของการลงโทษเมาแล้วขับ จะแบ่งได้ตามความหนักหน่วงการกระทำ ได้แก่ กรณีที่เมาแล้วขับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจสอบแอลกอฮอล์ในเลือด กับกรณีที่เมาแล้วขับจนทำให้เกิดอุบัติเหตุทำผู้อื่นบาดเจ็บ หรือถึงขั้นเสียชีวิต โดยทั้ง 2 กรณีเมาแล้วจับ โทษทางกฎหมายจะแตกต่างกันออกไปดังนี้

 

ค่าปรับเมาแล้วขับ

ค่าปรับเมาแล้วขับหากถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด จะแบ่งเป็น 2 กรณีย่อย คือ เมาแล้วขับครั้งที่ 1 กับ เมาแล้วขับครั้งที่ 2

  • เมาแล้วขับครั้งที่ 1 มีโทษปรับ 5,000-20,000 บาท จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะถูกสั่งพักการใช้งานใบขับขี่ขั้นต่ำ 6 เดือน หรืออาจถูกยกเลิกใบขับขี่ได้เลย
  • เมาแล้วขับครั้งที่ 2 มีโทษปรับ 50,000-100,000 บาท จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะถูกสั่งพักการใช้ใชงานใบขับขี่ขั้นต่ำ 1 ปี หรือถูกยกเลิกใบขับขี่ได้เช่นกัน 

 

ค่าปรับเมาแล้วขับไปเกิดอุบัติเหตุทำผู้อื่นบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต

เมาแล้วขับ โทษทางกฎหมายเมือทำให้เกิดอุบัติเหตุจนผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ หรือถึงขั้นเสียชีวิต จะรุนแรงขึ้นมาอีกระดับหนึ่งดังนี้

  • เมาแล้วขับทำให้คู่กรณีบาดเจ็บ มีโทษปรับ 20,000-100,000 บาท จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะถูกสั่งพักการใช้ใชงานใบขับขี่ขั้นต่ำ 1 ปี หรือถูกยกเลิกใบขับขี่ได้เช่นกัน
  • เมาแล้วขับทำให้คู่กรณีบาดเจ็บสาหัส มีโทษปรับ 40,000-120,000 บาท จำคุกไม่เกิน 2-6 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะถูกสั่งพักการใช้ใชงานใบขับขี่ขั้นต่ำ 2 ปี หรือถูกยกเลิกใบขับขี่ได้เช่นกัน
  • เมาแล้วขับทำให้คู่กรณีเสียชีวิต มีโทษปรับ 60,000-200,000 บาท จำคุกไม่เกิน 3-10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกยกเลิกใบขับขี่ทันที

 

ความผิดฐานเมาแล้วขับจนเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส

กรณีที่เมาแล้วขับจนทำให้คู่กรณีเกิดการบาดเจ็บสาหัส ทางประมวลกฎหมายอาญาได้มีกำหนดขั้นต้นไว้ทั้งหมด 8 ประการ เพื่อเป็นข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าถ้ามีกรณีนี้เกิดขึ้น ถือว่าเป็นอันตราสาหัส

  • หูหนวก ตาบอด ลิ้นขาดหรือเสียปราสาทรับกลิ่น
  • เสียอวัยวะการสืบพันธุ์หรือเสียความสามารถในการสืบพันธุ์
  • เสียขา แขน เท้า มือ หรือนิ้ว รวมถึงการเสียอวัยวะอื่น ๆ 
  • หน้าเสียโฉม ทำให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างชัดเจน
  • กรณีที่เกิดอุบัติเหตุรุนแรงจนทำให้แท้งลูก
  • ส่งผลให้คู่กรณีเกิดโรคทางจิตจนไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้
  • ทุพพลภาพ หรือมีการเจ็บป่วยเรื้อรังที่อาจเป็นได้ตลอดชีวิต (จากแพทย์วินิจฉัย)
  • ทุพพลภาพ หรือทนทุกข์ทรมานเกิน 20 วัน หรือทำกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวันไม่ได้เกิน 20 วัน

 

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นโทษเมาแล้วขับที่กฎหมายกำหนดใหม่ ทำให้ดูมีความรุนแรงมากขึ้นต่อผู้ที่ก่อเหตุโดยความประมาทจากการเมาแล้วยังเลือกขับรถ ดังนั้นถ้ารู้ตัวว่าวันไหนออกไปนอกบ้านเพื่อดื่มสังสรรค์ หรือกังวลเรื่องมาแล้วขับ ควรใช้รถสาธารณะประจำเส้นทางที่มีให้บริการ หรือเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันจะดีที่สุด เพราะนอกจากให้ตัวเองได้ปลอดภัยแล้ว ยังช่วยให้เพื่อนร่วมท้องถนนไม่ต้องเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถยนต์ที่ไม่ได้สติของเราอีกด้วย โดยข้อมูลเมาแล้วขับ โทษมีอะไรบ้างได้อ้างอิงข้อมูลโทษของเมาแล้วขับทางกฎหมายจากกระทรวงยุติธรรม

 

เมาแล้วขับ เป็นคดีอะไร

 

เมาแล้วขับ ประกันจ่ายไหม

เมาแล้วขับ ประกันจ่ายไหม คำตอบ คือ หากมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ทางกฎหมายคุณจะถูกตัดสินว่าเป็นผู้มาแล้วขับ ซึ่งทำให้ทางบริษัทประกันรถยนต์จะไม่จ่ายค่าดูแลให้ไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม หรือต่อให้คุณเลือกทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่มีค่าเบี้ยประกันและวงเงินการคุ้มครองสูงสุด ทางประกันก็ยังไม่ดูแลเช่นกัน แต่คู่กรณีประกันจะดูแลให้ตามปกติ แต่หลังจากที่มีการจ่ายค่าเสียหายให้ทางคู่กรณีแล้ว บริษัทประกันจะกลับมาไล่ค่าเสียหายจากคูรผู้เอาประกันภัยในภายหลังด้วย 

 

เมาแล้วขับ พรบ.รถยนต์คุ้มครองไหม

มาแล้วขับ พรบ.รถยนต์คุ้มครองไหม ในด้าน พรบ.รถยนต์จะยังคุ้มครองเรื่องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุตามปกติ เพราะในเงื่อนไขขั้นต้นของพรบได้ระบุเอาไว้แล้วว่า ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก ทางพรบจะมีวงเงินในการคุ้มครองค่าเสียหายขั้นต้น เพื่อให้ผู้บาดเจ็บได้รับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทันที และหลังจากที่มีการพิสูจน์หลักฐาน หรือสรุปผลอุบัติเหตุออกมาแล้วว่าฝ่ายใดผิดหรือถูก พรบ.รถยนต์ก็จะมีเกณฑ์การดูแลที่รองรับต่อเนื่องเช่นเดียวกัน

 

เมาแล้วขับเป็นคดีอะไร

เมาแล้วขับ เป็นคดีอะไร กรณีเมาแล้วขับเบื้องต้นจะถูกตัดสินให้มีความผิดตามตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 และแก้ไขเพิ่มเติม มาตราม 160 ตรี รวมถึงหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจนเกิดการฟ้องร้อง เมาแล้วขับจะถือว่าเป็นคดีอาญาที่ต้องขึ้นศาลอาญาด้วยเช่นกัน

 

ดื่มประมาณไหนถึงจะถูกตัดสินว่าเมาแล้วขับ

โดยปกติแล้วอาการเมาของแต่ละคนเราอาจวัดเป็นนามธรรมที่ชัดเจนไม่ได้ แต่ในทางกฎหมายการเมาแล้วขับถูกกำหนดไว้เมื่อมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือเทียบเท่ากับการดื่มเบียร์กระป๋องขนาดทั่วไป 1 กระป๋อง ดังนั้นถ้าคุณดื่มมากกว่าตามที่เรากล่าวมา แล้วยังขึ้นไปขับรถตามปกติ หากเจอด่านตรวจ หรือเกิดอุบัติเหตุและมีการตรวจสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด คุณจะถูกตัดสินว่าเป็นคนที่เมาแล้วขับไปโดยทันที

 

พอรู้ถึงโทษของกฎหมายเมาแล้วขับไปโดยละเอียดแล้ว หลายคนคงเข้าใจดีว่ามันทั้งอันตรายต่อตัวเอง และเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจนกลายเป็นความอันตรายต่อผู้อื่นได้มากเพียงไหน ปัจจุบันรถขนส่งสาธารณะมีให้ใช้บริการมากขึ้น รวมถึงแอปพลิเคชันเอกชนที่เรียกรถโดยสารก็มีเป็นจำนวนมาก หากต้องออกนอกบ้านเพื่อดื่มแอลกอฮอล์ ควรใช้บริการการเดินทางเหล่านั้นเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจะดีต่อตัวเองและเพื่อนร่วมท้องถนนมากที่สุดด้วย 

ส่วนใครที่กำลังมีความกังวลว่า พรบ.รถยนต์ อย่างเดียวอาจดูแลคุ้มครองได้ไม่ครบถ้วนตามที่เราต้อง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุคาดฝันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การเลือกสมัครประกันรถยนต์เพิ่มเติม ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่เจ้าของรถยนต์ทุกคนควรพิจารณาเผื่อเอาไว้ และถ้าอยากได้รับการดูแลที่ครอบคลุมมากที่สุด เอเชียไดเร็ค ขออนุญาตแนะนำเป็นประกันรถยนต์ชั้น 1 แน่นอน หากต้องการรับข้อเสนอพิเศษ หรือสอบถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่เบอร์โทร 02-089-2000 หรือ ไลน์แอด @asiadirect

บทความขับขี่ปลอดภัย
Rabbit Care Blog Image 1055

ขับขี่ปลอดภัย

อาการยางบวมเกิดจากอะไร สามารถขับต่อได้ไหม และต้องแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง

อาการยางบวมเป็นอะไรที่น่าเป็นห่วงยางมากหากเกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง ดังนั้นใครที่เดินทางข้ามจังหวัด หรือมีการใช้งานรถยนต์บ่อยครั้ง
คะน้าใบเขียว
clock icon06/02/2024
Rabbit Care Blog Image 1040

ขับขี่ปลอดภัย

รู้หรือไม่ว่าในประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับรถป้ายแดงอยู่ด้วย

เวลาออกรถใหม่มาใครก็เรียกรถป้ายแดงดันทั่วประเทศ แต่รู้หรือไม่ว่าการใช้งานรถยนต์ที่มีป้ายแดงติดอยู่ มีข้อกำหนดด้านกฎหมายที่หลากหลายมากกว่าที่คุณคิด
คะน้าใบเขียว
clock icon23/01/2024
Rabbit Care Blog Image 1013

ขับขี่ปลอดภัย

พรบ รถ คืออะไร? มีความคุ้มครองแตกต่างจากประกันรถยนต์มากน้อยแค่ไหน

นอกเหนือจากประกันรถยนต์ภาคสมัครใจที่เราเลือกทำได้เองแล้ว ยังมีประกัน พรบ รถ ที่กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องมี
คะน้าใบเขียว
clock icon02/01/2024