ขับขี่ปลอดภัย

พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไร? คุ้มครองอะไรบ้าง? ทำไมต้องทำ?

ผู้เขียน : Tawan

นักเขียนที่เชี่ยวชาญด้านการประกันภัย และการเงิน โดยเน้นไปที่ประกันภัยรถยนต์โดยเฉพาะ

Published February 16, 2023
ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) คืออะไร?

พ.ร.บ. คือคำที่เรามักจะได้ยินกันติดหู แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าพรบ.คืออะไร ซึ่งความจริงแล้ว พ.ร.บ. คือการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งกฎหมายบังคับใช้ให้รถทุกคันจำเป็นต้องทำประกันพรบคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 

โดยกฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก จำเป็นต้องทำประกันภัยประเภทนี้เพื่อความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับจากอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ 

ซึ่งกฎหมายให้ความคุ้มครองคู่กรณีและผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชย และค่าดูแลรักษาพยาบาลตามที่กำหนด รถทุกชนิดทุกประเภทที่เดินกำลังขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ๆ เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถโดยสาร รถพ่วง รถสิบล้อ จำเป็นต้องทำ พ.ร.บ.

ส่วนรถที่ได้รับการยกเว้นการทำพรบคือรถเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทน รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียนและมีเครื่องหมายตามพระราชวังกำหนด รถของกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ และรถทหาร และรถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ

ความสำคัญของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ

  • เป็นหน้าที่ของเจ้าของรถที่ต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายกำหนด
  • กฎหมายได้กำหนดให้มีส่วนร่วมในการสร้างหลักประกันต่อสังคม
  • เป็นการแบ่งเบาภาระของผู้ที่ขับขี่หรือเจ้าของรถหากต้องรับผิดชอบเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
  • เป็นมาตรการการลดปัญหาทางสังคมด้านหนึ่งซึ่งไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด
  • เป็นมาตรการบรรเทาผลร้ายต่อผู้เสียหายหากเกิดการรับผิดชอบ
  • เป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐด้านการักษาทรัพยากรมนุษย์

 

การทำ พ.ร.บ. ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับสิทธิ์ความคุ้มครองต่อชีวิตทันที ซึ่งจะสังเกตได้จากการที่เราขับขี่รถ มักจะพบตำรวจตั้งด่านตรวจสิ่งแรกและเป็นจุดสังเกตของตำรวจคือแผ่นป้ายพรบที่ติดอยู่ในจุดที่มองเห็นได้ชัดเจนว่าหมดอายุหรือไม่ หากหมดอายุ จะต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 200 บาท หรือหากเป็นรถที่ใช้งานอยู่แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนเสียภาษี จะต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 1,000 บาท

ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. (ไม่พิสูจน์ความผิด)

  • ค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
  • ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ จ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
  • การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร 35,000 บาทต่อคน

 

**หากเสียหายรวมกันทั้งข้อ 1 และ ข้อ 2 ต้องไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน

ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. (กรณีเป็นฝ่ายถูก)

การจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งผู้เคลมประกัน จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดตามกฎหมาย โดยมีวงเงินคุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นดังนี้

  •  ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
  •  การเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร 300,000 บาทต่อคน
  •  กรณีสูญเสียอวัยวะตามเกณฑ์ จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน
  •  ค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน หรือไม่เกิน 4,000 บาท
  •  จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดรวมกันต้องไม่เกิน 304,000 บาท
  •  วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 5,000,000 ต่อครั้ง
  • วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง 10,000,000 ต่อครั้ง

 

หากสนใจ พ.ร.บ. รถยนต์ราคาพิเศษหรือแบบประกันรถรถยนต์จากทุกบริษัทชั้นนำราคาถูกกว่าซื้อตรงจากบริษัทฯ สามารถขอรับคำปรึกษาฟรี หรือเบี้ยประกันราคาพิเศษได้ที่ เอเชีย ไดเร็ค โบรคเกอร์ ที่ https://asiadirect.co.th/ หรือโทร 02-089-2000

บทความขับขี่ปลอดภัย
Rabbit Care Blog Image 1055

ขับขี่ปลอดภัย

อาการยางบวมเกิดจากอะไร สามารถขับต่อได้ไหม และต้องแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง

อาการยางบวมเป็นอะไรที่น่าเป็นห่วงยางมากหากเกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง ดังนั้นใครที่เดินทางข้ามจังหวัด หรือมีการใช้งานรถยนต์บ่อยครั้ง
คะน้าใบเขียว
clock icon06/02/2024
Rabbit Care Blog Image 1040

ขับขี่ปลอดภัย

รู้หรือไม่ว่าในประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับรถป้ายแดงอยู่ด้วย

เวลาออกรถใหม่มาใครก็เรียกรถป้ายแดงดันทั่วประเทศ แต่รู้หรือไม่ว่าการใช้งานรถยนต์ที่มีป้ายแดงติดอยู่ มีข้อกำหนดด้านกฎหมายที่หลากหลายมากกว่าที่คุณคิด
คะน้าใบเขียว
clock icon23/01/2024
Rabbit Care Blog Image 1013

ขับขี่ปลอดภัย

พรบ รถ คืออะไร? มีความคุ้มครองแตกต่างจากประกันรถยนต์มากน้อยแค่ไหน

นอกเหนือจากประกันรถยนต์ภาคสมัครใจที่เราเลือกทำได้เองแล้ว ยังมีประกัน พรบ รถ ที่กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องมี
คะน้าใบเขียว
clock icon02/01/2024