ประกันรถยนต์ชั้น 1
คุ้มครองครอบคลุมทุกกรณี

ราคาเริ่มต้นเพียง 7,100 บาท
ประหยัดสูงสุดถึง 70%

ประกันรถยนต์ชั้น 1 จาก Asia Direct Broker

โปรแกรมคำนวณภาษีรถยนต์

ภาษีรถยนต์ราคาเท่าไหร่ พร้อมแนะนำวิธีต่อภาษีรถยนต์อย่างครบถ้วน

สำหรับผู้ใช้งานรถยนต์มือใหม่หลายคน อาจมีความสับสนเล็กน้อยระหว่างภาษีรถยนต์ กับพรบ.รถยนต์ ซึ่งทั้งสองทำหน้าที่แตกต่างกัน เพราะถ้าหากเราไม่ทำ พรบ.รถยนต์ ซึ่งเป็นประกันภาคบังคับ จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้นั่นเอง ดังนั้นตรงนี้เราเข้าใจตรงกันแล้ว ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีรถว่าคืออะไร ปัจจุบันภาษีรถยนต์ราคาเท่าไหร่ แตกต่างกันไหมระหว่างรถน้ำมันกับภาษีรถไฟฟ้า พร้อมสอนวิธีต่อภาษีรถยนต์ และสอนคำนวณภาษีรถยนต์ให้ด้วย ใครกำลังงงอยู่แนะนำว่าอ่านให้จบ รับรองรู้เรื่องแบบชัดเจนแน่นอน

ภาษีรถยนต์ คือ อะไร

ภาษีรถยนต์ หรือการต่อทะเบียนรถยนต์ คือ การจ่ายภาษีสำหรับผู้มีรถยนต์ทุกคนตามที่กฎหมายบังคับ ซึ่งก็คือป้ายทะเบียนกระดาษสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่มีวันที่หมดอายุ และทะเบียนรถยนต์ของเราระบุอยู่นั่นเอง โดยภาษีรถยนต์ที่เราทำการจ่ายไปในทุกปี ภาครัฐก็จะนำเงินส่วนนั้นที่ได้รับ ไปปรับปรุงถนน หรือการคมานาคมภายในประเทศตามความเหมาะสม โดยเจ้าของรถทุกคนมีหน้าที่ต้องต่อภาษีทุกปี หากภาษีขาดอาจต้องถูกปรับตามกฎหมาย รวมถึงยังต้องเสียเวลาดำเนินการยุ่งยากกว่าการต่อภาษีตามปกติอีกต่างหาก

ภาษีรถยนต์ราคาเท่าไหร่บ้าง

ภาษีรถยนต์ราคาเท่าไหร่บ้าง คำตอบ คือ ขึ้นอยู่กับประเภทรถยนต์ที่เราใช้งาน ซึ่งมีการคิดค่าภาษีรถยนต์แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะรถยนต์น้ำมัน กับภาษีรถไฟฟ้า ที่อัตราการคำนวณต่างกันค่อนข้างมากเลยทีเดียว ดังนั้นหากคุณใช้งานรถยนต์ประเภทไหนอยู่ ให้ลองเลื่อนลงไปดูที่หัวข้อย่อยทั้ง 2 ด้านล่าง เพื่อเช็คภาษีรถตามประเภทที่ใช้งานอยู่ได้เลย

ภาษีรถยนต์น้ำมัน

การเช็คภาษีรถยนต์น้ำมันนั้นก็มีความแตกต่างถึง 3 ประเภทด้วยกัน คือ ภาษีรถส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง, รถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง และรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง โดยภาษีรถยนต์ราคาเท่าไหร่ในแต่ละประเภทมีดังนี้

เช็คภาษีรถส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง

ค่าภาษีรถยนต์น้ำมันสำหรับรถส่วนบุคคลแบบไม่เกิน 7 ที่นั่ง จะสามารถเช็คภาษีรถได้จากขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) คูณด้วยอัตราค่าภาษีรถจากภาครัฐดังนี้

  • 600 ซีซีแรก คิด 50 สตางค์/ซีซี
  • 601-1,800 ซีซี คิด 1.50 บาท/ซีซี
  • 1,801 ซีซีขึ้นไป คิด 4 บาท/ซีซี

นอกเหนือจากนั้นยังมีส่วนลดสำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานนานกว่า 5 ปีขึ้นไป โดยอัตราส่วนลดภาษีรถยนต์เพิ่มเติม คือ อายุเกิน 6 ปี ได้ลดภาษี 10%, อายุเกิน 7 ปี ได้ลดภาษี 20%, อายุเกิน 8 ปี ได้ลดภาษี 30%, อายุเกิน 9 ปี ได้ลดภาษี 40% และอายุเกิน 10 ปี ได้ลดภาษี 50%

เช็คภาษีรถบรรทุกส่วนบุคคล เกิน 7 ที่นั่ง

ค่าภาษีรถยนต์สำหรับรถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีเขียว) มีดังนี้

  • น้ำหนักรถ 0-500 กก. ภาษี 300 บาท
  • น้ำหนักรถ 501-750 กก. ภาษี 450 บาท
  • น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กก. ภาษี 600 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กก. ภาษี 750 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กก. ภาษี 900 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กก. ภาษี 1,050 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กก. ภาษี 1,350 บาท
  • น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กก. ภาษี 1,650 บาท
  • น้ำหนักรถ 2,501 – 3,000 กก. ภาษี 1,950 บาท

เช็คภาษีรถส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง

ค่าภาษีรถส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงิน) มีดังนี้

  • น้ำหนักไม่เกิน 1,800 กก. ภาษี 1,300 บาท
  • น้ำหนักเกิน 1,800 กก. ภาษี 1,600 บาท

ภาษีรถไฟฟ้า

ภาษีรถยนต์สำหรับภาษีรถไฟฟ้านั้นจะมีการคิดคำนวณด้วยน้ำหนักเป็นหลัก ซึ่งจะแบ่งได้ 2 ประเภทหลัก คือ ภาษีรถไฟฟ้าประเภทรถส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งและแบบเกิน 7 ที่นั่ง โดยภาษีรถยนต์ราคาเท่าไหร่ดูได้จากลิสต์ด้านล่างนี้

ภาษีรถไฟฟ้า EV ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง

  • น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ภาษี 30 บาท
  • น้ำหนัก 501 – 750 กก. ภาษี 60 บาท
  • น้ำหนัก 751 - 1,000 กก. ภาษี 90 บาท
  • น้ำหนัก 1,001 - 1,250 กก. ภาษี 160 บาท
  • น้ำหนัก 1,251 - 1,500 กก. ภาษี 200 บาท
  • น้ำหนัก 1,501 - 1,750 กก. ภาษี 260 บาท
  • น้ำหนัก 1,751 - 2,000 กก. ภาษี 330 บาท
  • น้ำหนัก 2,001 - 2,500 กก. ภาษี 380 บาท
  • น้ำหนัก 2,501 - 3,000 กก. ภาษี 440 บาท
  • น้ำหนัก 3,001 - 3,500 กก. ภาษี 480 บาท
  • น้ำหนัก 3,501 - 4,000 กก. ภาษี 520 บาท
  • น้ำหนัก 4,001 - 4,500 กก. ภาษี 560 บาท
  • น้ำหนัก 4,501 - 5,000 กก. ภาษี 600 บาท
  • น้ำหนัก 5,001 - 6,000 กก. ภาษี 640 บาท
  • น้ำหนัก 6,001 - 7,000 กก. ภาษี 680 บาท
  • น้ำหนัก 7,001 ขึ้นไป กก. ภาษี 720 บาท

ภาษีรถไฟฟ้า EV ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง

  • น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ภาษี 15 บาท
  • น้ำหนัก 501 – 750 กก. ภาษี 30 บาท
  • น้ำหนัก 751 - 1,000 กก. ภาษี 45 บาท
  • น้ำหนัก 1,001 - 1,250 กก. ภาษี 80 บาท
  • น้ำหนัก 1,251 - 1,500 กก. ภาษี 100 บาท
  • น้ำหนัก 1,501 - 1,750 กก. ภาษี 130 บาท
  • น้ำหนัก 1,751 - 2,000 กก. ภาษี 160 บาท
  • น้ำหนัก 2,001 - 2,500 กก. ภาษี 190 บาท
  • น้ำหนัก 2,501 - 3,000 กก. ภาษี 220 บาท
  • น้ำหนัก 3,001 - 3,500 กก. ภาษี 240 บาท
  • น้ำหนัก 3,501 - 4,000 กก. ภาษี 260 บาท
  • น้ำหนัก 4,001 - 4,500 กก. ภาษี 280 บาท
  • น้ำหนัก 4,501 - 5,000 กก. ภาษี 300 บาท
  • น้ำหนัก 5,001 - 6,000 กก. ภาษี 320 บาท
  • น้ำหนัก 6,001 - 7,000 กก. ภาษี 340 บาท
  • น้ำหนัก 7,001 ขึ้นไป กก. ภาษี 360 บาท

สอนคำนวณภาษีรถยนต์

กรณีภาษีรถไฟฟ้ามีเพียงแค่น้ำหนักเท่านั้นที่จะกำหนดค่าภาษีได้ ไม่ต้องมีการคำนวณเหมือนภาษีรถยนต์น้ำมันทั่วไป ส่วนการคำนวณภาษีรถยนต์ ต้องนำ ซีซี มาคำนวณ โดยอ้างอิงวิธีการคำนวณเบื้องต้นจากศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับภาครัฐ

ยกตัวอย่างคำนวณภาษีรถยนต์ กำหนดให้รถยนต์ 1,800 ซีซี

  • 600 ซีซีแรก คิด 0.5 บาท = 600 x 0.5 = 300 บาท
  • 601-1,800 ซีซี คิด 1.50 บาท = 1,200 x 1.50 = 1,800 บาท

รวมภาษีที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น 2,100 บาท สำหรับรถยนต์ที่ขนาด 1,800 ซีซี

วิธีต่อภาษีรถยนต์

วิธีต่อภาษีรถยนต์นั้นสามารถทำได้อยู่ 2 ช่องทางด้วยกัน คือ วิธีต่อภาษีรถยนต์ด้วยตัวเองกับสถานที่ที่รับชำระภาษีรถยนต์ และวิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมขนส่งโดยตรง ซึ่งขันตอนก็จะแตกต่างกันไปดังนี้

วิธีต่อภาษีในสถานที่รับชำระ

  • เตรียมเอกสารการต่อภาษีไปให้พร้อม ได้แก่ คู่มือจดทะเบียนรถยนต์ (ตัวจริงหรือสำเนา), หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.) และพ.ร.บ. รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
  • ยื่นชำระภาษีรถยนต์ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น กรมการขนส่งทางบก, สำนักงานขนส่งทั่วไทย, ที่ทำการไปรษณีย์, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ ‘ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี’ และเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

วิธีต่อภาษีผ่านเว็บไซต์กรมขนส่ง

  • เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์กรมขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th หากใช้งานครั้งแรกต้องลงทะเบียนก่อน
  • เลือกยื่นชำระภาษีรถประจำปี
  • กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ของเรา
  • กรอกรายละเอียดหลักฐานการเอาประกันตาม พ.ร.บ.
  • เลือกช่องทางชำระภาษี เช่น หักบัญชี, บัตรเครดิต, เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือ ATM ธนาคารที่เข้าร่วม
  • หลังจากทำการชำระภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้ว กรมขนส่งทางบกจะส่งใบเสร็จรับเงิน และเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีให้ทางไปรษณีย์ ผ่านที่อยู่ที่เราได้กรอกข้อมูลเอาไว้

เพียงเท่านี้คนที่กำลังสงสัยข้อมูลเกี่ยวกับภาษีรถทั้งหมด คงได้รับคำตอบกันไปอย่างครบถ้วนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวิธีต่อภาษีรถยนต์ครบทุกช่องทาง, การคำนวณภาษีรถยนต์เบื้องต้น และเช็คภาษีรถยนต์ว่าราคาเท่าไหร่บ้าง ที่เหลือแค่ผู้ใช้งานรถยนต์ทุกท่านต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอ ให้ต่อพ.ร.บ.รถยนต์อย่างตรงเวลา เพื่อที่จะได้ต่อภาษีรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการเคลียร์ค่าปรับจราจรให้เรียบร้อย เพราะปัจจุบันมีการควบรวมระบบทั้งสองเข้าด้วยกันแล้ว ใครที่ไม่จ่ายค่าปรับไว้ จะถูกคิดคำนวณรวบยอดกับค่าภาษีด้วย

หากจ่ายค่าภาษีเรียบร้อยแล้ว เอเชียไดเร็ค อยากแนะนำให้ทุกคนแบ่งงบส่วนหนึ่งไว้ตัดสินใจเลือกประกันรถยนต์ภาคสมัครใจจากเรา ที่พร้อมดูแลคุ้มครองทั้งรถยนต์ทั่วไป และรถไฟฟ้าอย่างครอบคลุมที่สุดตามแผนประกันรถยนต์ที่คุณเลือก ไม่ว่าจะเป็นประเภทชั้น 1, 2+, 2, 3+ หรือ 3 ก็มีให้เลือกอย่างครบถ้วน หากสนใจต้องการสอบถามเพิ่มเติม โทรติดต่อได้ที่ 02-089-2000 หรือไลน์แอด @asiadirect ได้เลยทันที

ความคุ้มครองรถประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภท

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้
x
x
รถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้