ประกันรถยนต์ชั้น 1
คุ้มครองครอบคลุมทุกกรณี

ราคาเริ่มต้นเพียง 7,100 บาท
ประหยัดสูงสุดถึง 70%

ประกันรถยนต์ชั้น 1 จาก Asia Direct Broker

น้ำมันเครื่อง มีกี่ประเภท? ราคาเท่าไหร่บ้าง ปัจจุบันยี่ห้อไหนน่าสนใจ

หนึ่งในชื่อของเหลวพื้นฐานอย่างน้ำมันเครื่อง นับเป็นสิ่งที่เจ้าของรถทุกคนควรรู้จัก เพื่อที่เราจะสามารถดูแลบำรุงรักษารถยนต์ของเราให้มีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีสม่ำเสมอ อีกทั้งยังช่วยยืดอายุการใช้งานให้นานมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยการดูแลรถยนต์ในส่วนของน้ำมันเครื่อง เราจะต้องเลือกประเภทที่เหมาะสม กับระยะที่ต้องเปลี่ยนให้ดี ฉะนั้นถ้าใครอยากเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับเรื่องน้ำมันเครื่อง เอเชียไดเร็ค ได้ลองรวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว สามารถติดตามอ่านได้จากหัวข้อย่อยทั้งหมดต่อจากนี้

น้ำมันเครื่อง คือ อะไร

น้ำมันเครื่อง คือ สารหล่อลื่นที่มีหน้าที่เคลือลชิ้นส่วนโลหะภายในเครื่องยนต์ เพื่อช่วยลดการเสียดสี การสึกหรอของวัตถุภายใน นอกเหนือจากนั้นยังช่วยดูแลเพิ่มเติม เช่น การป้องกันสนิม, ป้องกันการกัดกร่อน, ลดคราบเขม่า, ลดการสะสมสิ่งสกปรก และลดการเกิดผงโลหะที่อาจทำให้มีการอุดตันภายในเครื่องยนต์ รวมถึงการช่วยป้องกันหรือลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ช่วยรักษาให้คุณภาพน้ำมันให้ดีดังเดิม ด้วยเหตุผลเหล่านี้การเลือกใช้น้ำมันเครื่องให้เหมาะสม จึงกลายเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่เจ้าของรถทุกคนควรดูแลสม่ำเสมอ

น้ำมันเครื่องมีทั้งหมดกี่ประเภท

น้ำมันเครื่องมีทั้งหมด 3 ประเภท คือ แบบธรรมดา, แบบกึ่งสังเคราะห์ และสังเคราะห์ แต่ละชนิดมีคุณสมบัติ และการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
อ้างอิงข้อมูลจากส่วนบริหารเครื่องจักรกล สำนักเครื่องกล กรมชลประทาน

1. น้ำมันเครื่องแบบธรรมดา

น้ำมันเครื่องแบบธรรมดา เป็นน้ำมันที่ผลิตขึ้นมาจากการกลั่นน้ำมันหล่อลื่นของน้ำมันปิโตรเลียมอีกทีหนึ่ง ซึ่งน้ำมันเครื่องประเภทนี้มีอายุการใช้งานที่ประมาณ 3,000-5,000 กิโลเมตร หรือมีอายุประมาณ 6 เดือน เป็นประเภทที่มีราคาต่ำที่สุด

  • จุดเด่นน้ำมันเครื่องแบบธรรมดา คือ ราคาถูก

2. น้ำมันเครื่องแบบกึ่งสังเคราะห์

น้ำมันเครื่องแบบกึ่งสังเคราะห์ คือ น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้องค์ประกอบหลักจากน้ำมันธรรมชาติเป็นพื้นฐาน จากนั้นมีการเติมสารสังเคราะห์เพิ่มเข้าไป เพื่อช่วยให้ตัวน้ำมันเครื่องประเภทนี้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นกว่าเดิม สามารถใช้งานได้ประมาณ 7,000 กิโลเมตร หรือ มีอายุราว ๆ 6-9 เดือน

  • จุดเด่นน้ำมันเครื่องแบบกึ่งสังเคราะห์ คือ ราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เข้าถึงได้ง่ายสำหรับคนรักรถ หาซื้อได้ไม่ยาก เพราะได้รับความนิยมสูง คุณภาพในการดูแลเครื่องยนต์ถือว่าดีทีเดียว

3. น้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์

น้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์ คือ น้ำมันที่มีองค์ประกอบเป็นสารสังเคราะห์ดัดแปลงแบบ 100% เมื่อมีสิ่งเจือปนที่น้อยลงมากที่สุด ทำให้น้ำมันเครื่องประเภทนี้สามารถใช้งานได้ยาวนานที่สุดถึง 10,000-15,000 กิโลเมตร หรือ 1 ปีโดยประมาณ รวมถึงมีราคาที่สูงที่สุดในประเภทน้ำมันเครื่องทั้งหมดด้วยเช่นกัน

  • จุดเด่นน้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์ คือ อัตราระเหยต่ำ ช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ป้องกันการสึกหรอได้ดีที่สุด เหมาะกับคนที่ดูแลรักษารถเป็นอย่างดี

น้ำมันเครื่องราคาเท่าไหร่

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องราคาเริ่มต้นตั้ง 500-2,500 บาท ขึ้นอยู่กับประเภทน้ำมันเครื่องที่คุณเลือกใช้ รวมถึงค่าบริการจากศูนย์หรืออู่ที่ให้บริการแตกต่างกันออกไปด้วย อีกทั้งยังเป็นเรื่องเครื่องยนต์ที่น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล จะมีราคาที่สูงมากกว่าเบนซิน

ตอนไหนควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง

สำหรับระยะเวลาการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ขึ้นอยู่กับรอบการเช็กระยะรถยนต์ที่ศูนย์บริการ หรืออู่ซ่อมรถได้จดบันทึกเอาไว้ให้เรา ซึ่งสังเกตได้จากกระดาษที่ห้อยอยู่ข้างพวงมาลัยรถ พอถึงเวลาแล้วจะมีการเปลี่ยนถ่ายให้ตามกำหนด ซึ่งปกติแล้วการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องจะแบ่งได้จาก ระยะทาง และ ระยะเวลาการใช้งาน หากเราใช้งานรถยนต์จนถึงระยะไหนก่อน สามารถนำเข้าไปเช็กระยะเพื่อเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง และดูแลด้านอื่น ๆ เพิ่มเติมได้เลยทันที ส่วนคนที่อยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระยะทั้งสอง สามารถติดตามอ่านได้จากหัวข้อย่อยดังนี้

1. เปลี่ยนตามระยะทาง

การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะทาง โดยเฉลี่ยแล้วจะเปลี่ยนประมาณ 8,000-10,000 กิโลเมตรต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับประเภทหรือคุณภาพน้ำมันเครื่องที่เราใช้งาน ซึ่งจะมีอายุที่แตกต่างกันออกไป อ้างอิงจากกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงานในเรื่องระยะทางที่ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องในแต่ละประเภท

  • น้ำมันเครื่องแบบธรรมดา ควรเปลี่ยนเมื่อครบระยะทาง 7,00-7,500 กิโลเมตร
  • น้ำมันเครื่องแบบกึ่งสังเคราะห์ ควรเปลี่ยนเมื่อครบระยะทาง 10,000-15,000 กิโลเมตร
  • น้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์ ควรเปลี่ยนเมื่อครบระยะทาง 15,000-20,000 กิโลเมตร

ใครที่ใช้งานรถยนต์เดินทางไกลบ่อย ไม่ว่าจะเหตุผลไหนก็ตาม หากครบระยะทางที่กล่าวมา ควรนำรถเข้าไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามความเหมาะสมได้เลย เพื่อที่เครื่องยนต์ของรถเราจะได้พร้อมทำงานเต็มประสิทธิภาพ ช่วยให้คุณเดินทางได้อย่างต่อเนื่อง ราบรื่น ไร้ปัญหา

2. เปลี่ยนตามระยะเวลา

ถัดมาเป็นการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่ครบกำหนด เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าถ้าเราครบระยะไหนก่อนให้นำไปเปลี่ยนได้เลย ซึ่งบางผู้ใช้รถอาจถึงเวลาที่กำหนด ก่อนใช้งานครบระยะทางที่กำหนดเสียอีก ส่วนระยะเวลาที่เหมาะสมกับการเปลี่ยน มีดังนี้

  • น้ำมันเครื่องแบบธรรมดา ควรเปลี่ยนเมื่อครบระยะเวลา 6 เดือน
  • น้ำมันเครื่องแบบกึ่งสังเคราะห์ ควรเปลี่ยนเมื่อครบระยะเวลา 6-9 เดือน
  • น้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์ ควรเปลี่ยนเมื่อครบระยะเวลา 1 ปี

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เราต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันตัวนี้ แม้ว่าจะเดินทางไปครบตามระยะทางที่กำหนด เพราะตัวน้ำมันเองสามารถเสื่อมสภาพได้ตามกาลเวลา ต่อให้เราไม่ได้สตาร์ตรถยนต์เพื่อใช้งาน ตัวน้ำมันอาจทำให้เกิดความชื้นภายในเครื่องยนต์ และกลายมาเป็นคราบสนิม กับคราบเขม่าตามมาได้ เบื้องต้นการตรวจเช็กน้ำมันเครื่องด้วยเองสามารถทำได้ไม่ยาก เปิดฝากระโปรงหน้าขึ้นมา มองไปที่ห้องเครื่อง มองหาวงแหวนสำหรับเช็กก้านน้ำมัน ตรวจสอบเรื่องสีว่ายังใสอยู่ไหม และมีระดับที่เหมาะสมตามขีดที่กำหนดเอาไว้บนก้านหรือไม่นั่นเอง

น้ำมันเครื่องยี่ห้อไหนดี

  • PTT Performa Synthetic EVOTECH มี 3 รุ่นย่อยให้เลือกใช้งานอย่างเหมาะสม คือ Super Synthetic 0W-20 (สังเคราะห์), Eco Car 0W-20 (สังเคราะห์สำหรับ Eco Car) และ 5W-30 (กึ่งสังเคราะห์)
  • Furio Fully Synthetic SP เป็นแบบสังเคราะห์ทั้งหมด แต่มีความหนืดประมาณ 3 ระดับ คือ 0W-20, 5W-30 และ 5W-40
  • Caltex Havoline Pro DS เป็นแบบสังเคราะห์ทั้งหมด มีให้เลือก 3 ประเภทย่อย คือ ECO 0W-20, ECO 5W-30 และ LE 5W-40
  • Mobil 1 เป็นแบบสังเคราะห์ทั้งหมด มีให้เลือก 2 แบบ คือ 0W-20 เหมาะกับรถทุกประเภท และ FS 0W-30 เพิ่มคุณสมบัติต้านแรงเสียดทาน ประหยัดน้ำมัน ปกป้องเครื่องยนต์ได้ดีขึ้น
  • Shell Helix Power เป็นแบบสังเคราะห์ทั้งหมดเช่นกัน แต่เพิ่มส่วนผสม Power Booster จาก Shell เข้าไป ทำให้ช่วยลดแรงเสียดทานได้ดีขึ้น

ระวังถ้าไม่เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามรอบ

คำเตือน! หากคุณเจ้าของรถไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามรอบระยะทาง หรือระยะเวลาที่กำหนดมา อาจส่งผลเสียต่อสภาพและการทำงานเครื่องยนต์ ถ้าปล่อยไว้นานอาจลุกลามจนกลายเป็นต้นเหตุของปัญหาใหญ่ได้ โดยสิ่งที่ต้องระวังเมื่อไม่ยอมเปลี่ยนถ่ายน้ำมันตามระยะที่กำหนดได้แก่ น้ำมันหนืด, เกิดความเสื่อมสภาพ, รถกินน้ำมัน เสียงดัง สร้างมลพิษมากกว่าปกติ และมีค่าซ่อมที่แพงมาก ซึ่งรายละเอียดข้อควรระวังทั้งหมดมีดังนี้

  • น้ำมันเครื่องหนืด ส่งผลให้รถเร่งไม่ขึ้น เหยียบคันเร่งแล้วปฏิกิริยาตอบสนองค่อนข้างช้ามาก
  • เกิดความเสื่อมสภาพ ทำให้ชิ้นส่วนภายในเกิดการสึกหรอง่ายขึ้น เพราะตัวน้ำมันทำหน้าที่หล่อลื่นได้ไม่ดีเท่าเดิม เกิดการเสียดสีรุนแรงมากขึ้น
  • รถกินน้ำมัน เสียงเครื่องยนต์ดัง และยังสร้างมลพิษมากกว่าปกติอีกต่างหาก เริ่มต้นจากการที่เครื่องยนต์ทำงานหนัก จนเกิดเสียงดัง พอทำงานหนักขึ้น ต้องเร่งมากขึ้น ก็กลายเป็นมลพิษที่หนักหน่วง
  • มีค่าซ่อมที่แพงมากถ้าหากปล่อยไว้นานเกินไป เพราะภายในจะเกิดการสะสมคราบความสกปรกอย่างตะกรันเหนียว ตัวปัญหาที่ทำให้คุณต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่างหนักหน่วง

ดังนั้นถ้ารู้แบบนี้แล้วควรหาโอกาสไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามรอบที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เครื่องยนต์ของรถเราสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ และสมบูรณ์เหมือนเดิมอยู่ตลอดเวลา ส่วนจะเปลี่ยนที่อู่ซ่อมรถยนต์ทั่วไป หรือศูนย์บริการ เลือกได้ตามความต้องการที่แตกต่างกัน เช่น ค่าบริการ, ค่าอะไหล่ที่แตกต่าง และมาตรฐานการซ่อมที่เกิดขึ้น

นอกเหนือจากการดูแลเรื่องของเหลวตัวสำคัญแล้ว อย่าลืมพิจารณาเลือกประกันรถยนต์เพิ่มเติม เพื่อให้ช่วยดูแลทุกการขับขี่ ไม่ว่าจะไปในสถานที่ใด ขับรถเวลาไหน ประกันรถยนต์จาก เอเชียไดเร็ค พร้อมช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง รวมถึงข้อเสนอสุดพิเศษที่มอบส่วนลดให้สูงสุดถึง 70% หรืออยากเลือกผ่อน 0% นาน 10 เดือนก็มีให้บริการเช่นกัน อยากสอบถามรายละเอียด พร้อมรับคำปรึกษาเพิ่มเติม ติดต่อเข้ามาได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-089-2000 (โทรได้ 24 ชั่วโมง) หรือไลน์แอด @asiadirect

ความคุ้มครองรถประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภท

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณีชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ภัยจากไฟไหม้ไฟไหม้
x
x
รถหายรถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม.ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้