ประกันรถยนต์ชั้น 1
คุ้มครองครอบคลุมทุกกรณี

ราคาเริ่มต้นเพียง 7,100 บาท
ประหยัดสูงสุดถึง 70%

ประกันรถยนต์ชั้น 1 จาก Asia Direct Broker

การโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของ โอนลอย คือ อะไร ได้ยินบ่อยครั้งสรุปแล้วเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีกันแน่

ส่วนใหญ่แล้วเวลาพูดถึงการโอนรถ โดยเฉพาะรถมอเตอร์ไซค์เรามักจะได้ยินคำว่า โอนลอย กันบ่อยครั้ง ซึ่งหากฟังผ่าน ๆ อาจดูไม่ดีเท่าไหร่นัก แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าสรุปแล้วการโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของ โอนลอย เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายหรือไม่ และถ้าไม่ผิดสามารถทำได้ปกติไหม แท้จริงแล้วโอนลอย คืออะไรกันแน่ มีข้อดีข้อเสียของการโอนลอยอย่างไรบ้าง

ถ้าคุณเป็นหนึ่งคนที่เคยได้ยินคำนี้บ่อยจนเกิดความสงสัย เอเชียไดเร็ค เตรียมคำตอบมาให้แบบครบถ้วนทุกคำถาม ตามเนื้อหาหัวข้อบทความด้านล่างทั้งหมดดังต่อไปนี้เลย

โอนลอยคืออะไร

โอนลอย คือ เป็นการเซ็นสัญญาการโอนของทางผู้ขายรถ แต่ทั้งนี้ยังไม่มีการกรอกข้อมูลในส่วนของผู้รับโอน หรือถ้ามีการกรอกข้อมูลผู้รับโอนเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไปไม่ถึงขั้นตอนการยื่นเอกสารต่อกรมขนส่งทางบก ทำให้ผู้ซื้อยังไม่ได้เป็นเจ้าของรถอย่างถูกต้อง

ลักษณะของการโอนลอย

ลักษณะของการโอนลอยจะมีความเด่นชัด คือ เมื่อในแบบคำขอการโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของ โอนลอย มีเพียงแค่ชื่อผู้โอน (ชื่อเจ้าของรถ) เท่านั้น ไม่มีชื่อผู้รับโอน (ผู้ซื้อ) ทำให้ชื่อบนเล่มทะเบียนรถยังคงเป็นชื่อเจ้าของเดิมอยู่ หากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการโอนรถ มีลักษณะดังกล่าวอย่างครบถ้วน ถือว่าเป็นการโอนลอยอย่างชัดเจน

ข้อดีข้อเสียโอนลอย

สำหรับข้อดีข้อเสียของการโอนลอยนั้น เอเชียไดเร็ค เปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน แต่ยังไม่แนะนำให้ทำการโอนลอยอยู่ดี โดยรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อดี ข้อเสีย หรือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากเราทำการโอนลอยจะมีดังนี้

ข้อดีการโอนลอย

ทางด้านข้อดีของการโอนลอย คือ จะเป็นความรวดเร็ว และความสะดวกสบายในการดำเนินการเท่านั้น ส่วนในด้านอื่นสัญญาการโอนลอยยังไม่ถือว่าครบถ้วน จึงไม่มีข้อดีด้านอื่นเข้ามาเสริมนั่นเอง โดยรายละเอียดข้อดีจะมีดังนี้

  • ทำให้การซื้อขายจบได้อย่างรวดเร็ว: โดยเฉพาะการซื้อขายผ่านคนกลาง เช่น หากเราต้องการนำรถไปขายต่อเต็นท์รถมือสอง การโอนลอยจะค่อนข้างสะดวก เนื่องจากเต็นท์รถไม่ได้นำรถไปใช้งานแต่อย่างใด เพียงแต่นำไปขายต่อเท่านั้น เมื่อได้เจ้าของใหม่จึงนำใบโอนลอยไปกรอกข้อมูลผู้รับโอนอีกครั้งนั่นเอง
  • เจ้าของรถไม่ต้องเสียเวลาเดินเรื่องด้วยตัวเอง: ยิ่งถ้าขายต่อเต็นท์รถดังที่ได้กล่าวไป เจ้าของรถก็สามารถเซ็นโอนลอย เพื่อให้เต็นท์รถไปจัดการกับเจ้าของใหม่ได้โดยที่เจ้าของรถคนแรกอย่างเราไม่ต้องเสียเวลาดำเนินการอะไรเลย

ดังนั้นถ้าเป็นการซื้อขายรถมือสองกับคนกลางที่เราสามารถไว้วางใจได้ การโอนลอยจะถือเป็นวิธีการที่ช่วยทำให้เกิดความสะดวกสบายแก่ทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตามการทำเอกสารแบบโอนลอยควรจะต้องเป็นคนกลางที่เราคุ้นเคย ติดต่อง่าย หรือมีความสนิทสนมเท่านั้น ไม่อย่างนั้นเอกสารที่คนกลางได้ไป อาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมายได้

ความเสี่ยงของการโอนลอย

ข้อเสียหรือความเสี่ยงของการโอนลอย คือ เจ้าของรถที่มีชื่ออยู่ในเอกสารโอนลอย จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด, ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ซื้อ และความเสี่ยงเกี่ยวกับการเจอรถที่ผิดกฎหมายได้ ส่วนรายละเอียดความเสี่ยงในแต่ละข้อนั้นค่อนข้างสำคัญมาก แนะนำให้อ่านอย่างครบถ้วน

  • เจ้าของรถต้องรับผิดชอบเมื่อเกิดปัญหา: เช่น โดนใบสั่งจราจร, มีคดีเกี่ยวกับอุบัติเหตุบนท้องถนน, นำรถไปก่ออาชญากรรม และการนำไปขายต่ออย่างผิดกฎหมาย ซึ่งถ้ามีเรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้น ชื่อเจ้าของเดิมจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด
  • ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ซื้อ: เช่น หากบัตรประชาชนของเจ้าของเดิมหมดอายุ หรือเจ้าของเดิมเสียชีวิต เอกสารการโอนลอยจะไม่สามารถใช้งานได้ทันที และหากผู้ซื้อไม่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ รถที่ได้มาจะไม่สามารถดำเนินการทางด้านทะเบียนใด ๆ ได้เลย
  • ความเสี่ยงเจอรถผิดกฎหมาย: ถ้าซื้อรถด้วยวิธีการโอนลอย อาจเสี่ยงต่อการเจอรถที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

และที่กล่าวมาด้านบนล้วนเป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ง่าย กับการโอนลอย เช่นหากเราขายรถผ่านสัญญาโอนลอย แล้วคนที่นำรถไปใช้งานต่อสร้างปัญหาอะไรขึ้นมา จะกลายเป็นว่าเจ้าของรถที่อยู่ในเล่มทะเบียนอย่างเรา จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมดไปโดยปริยาย

โอนลอยใช้เอกสารอะไรบ้าง

โอนลอยใช้เอกสารอะไรบ้าง คำตอบ คือ ใช้เอกสารทั้งหมด 9 รายการ ได้แก่ หนังสือสัญญาซื้อขาย, เล่มทะเบียนรถตัวจริง, สำเนาบัตรประชาชนพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้องจากเจ้าของรถ, สำเนาถูกต้องพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้องจากผู้ซื้อ, สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้องจากเจ้าของรถ, แบบคำขอโอนและรับโอนจากกรมขนส่งทางบก พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้องจากเจ้าของรถ และหนังสือมอบอำนาจจากกรมขนส่งทางบก พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้องจากเจ้าของรถ (กรณีที่เจ้าของรถไม่ได้ทำเรื่องด้วยตัวเอง)

คำแนะนำเพิ่มเติม: พอได้รับเอกสารทั้งหมดแล้วต้องจบการโอนลอยให้เสร็จสิ้น เพียงแค่นำเอกสารทั้งหมดด้านบน ไปยื่นกับกรมขนส่งทางบกที่ได้จดทะเบียนรถเอาไว้ เพียงไม่กี่ขั้นตอนก็เป็นอันเสร็จสิ้นการโอนรถอย่างสมบูรณ์ ทำให้ผู้ซื้อได้มีกรรมสิทธิ์ในรถคันนั้นอย่างแท้จริง

ค่าธรรมเนียมการโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของ โอนลอย

ค่าธรรมเนียมการโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของ โอนลอย จะมีค่าธรรมเนียมขั้นพื้นฐานเหมือนกับกานโอนปกติดังนี้

  • ค่าคำขอโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ 5 บาท
  • ค่าธรรมเนียมโอนรถ 100 บาท
  • ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียน 100 บาท (กรณีเล่มทะเบียนชำรุด)
  • ค่าเปลี่ยนป้ายทะเบียน 200 บาท (หากต้องการเปลี่ยน)
  • ค่าอากรแสตมป์ 500 บาท (ต่อการประเมินราคารถยนต์ 100,000 บาท)

แต่ค่าธรรมเนียมในการโอนรถ เปลี่ยนเจ้าของ โอนลอยเหล่านี้ จะต้องเจอก่อต่อเมื่อมีการไปยื่นเอกสารต่อกรมขนส่งทางบก เพื่อเสร็จสิ้นการโอนรถแล้วเท่านั้น ดังนั้นการโอนลอยที่มีเพียงเอกสารระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย ยังไม่ได้มีการตรวจสอบหรือแจ้งกรมขนส่งทางบก จะยังไม่ถือว่าการโอนเสร็จสิ้น

ข้อควรระวังเมื่อทำสัญญาแบบโอนลอย

หากจำเป็นต้องใช้สัญญาแบบโอนลอย มีข้อควรระวังเกี่ยวกับการทำสัญญาเบื้องต้น ซึ่งเราต้องรัดกุมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเป็นการป้องกันขั้นพื้นฐาน และสร้างความสะดวกสบายให้มากที่สุด

  • กรอกวันที่และสัญญาให้ครบ
  • บนหน้าสำเนาต่าง ๆ ให้ขีดคร่อมเพื่อทำสำเนาถูกต้อง พร้อมระบุข้อความว่า “ใช้เพื่อดำเนินการเกี่ยวข้องกับรถยนต์หมายเลขทะเบียน xxxx เท่านั้น” เพื่อป้องกันไม่ให้เอกสารถูกนำไปใช้งานด้านอื่น
  • ในสัญญาโอนลอยให้ระบุเอาไว้ว่า “ยังไม่ได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์อย่างถูกต้อง”
  • ในรายละเอียดสัญญาซื้อขาย ควรมีพะยานมาเซ็นชื่อกำกับด้วย

แม้ว่าเราจะมีข้อควรระวังแล้ว การซื้อขายรถแบบโอนลอยยังถือว่ามีความสุ่มเสี่ยงในการสร้างปัญหาอยู่ดี หากไม่จำเป็นการสละเวลาเพื่อไปแจ้งกรมขนส่งเพื่อให้โอนเสร็จสิ้นเรียบร้อย จะถือว่าเป็นการจบปัญหาได้ดีมากกว่าปล่อยทิ้งเอาไว้

สรุปแล้วโอนลอย ผิดกฎหมายไหม

สรุปแล้วการโอนลอย ยังไม่ถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมายเสียทีเดียว เพียงแต่ทางกรมชนส่งทางบกได้มีการย้ำเตือนอย่างสม่ำเสมอว่าการซื้อรถ ไม่ควรทำเอกสารแบบโอนลอย เพราะมีความเสี่ยงสูงในหลาย ๆ ด้านอย่างที่นำเสนอไป ฉะนั้นการซื้อรถควรได้ทำทุกขั้นตอนตามปกติ มีเอกสาร มีข้อมูลอย่างครบถ้วนจะดีที่สุดนั่นเอง แต่ถ้าหากเป็นการขายรถมือสองให้กับเต็นท์รถที่มีความน่าเชื่อถือ ก็ถือเป็นการตัดสินใจอีกมุมมองหนึ่งซึ่งแตกต่างออกไป

หลังจากที่รู้แล้วว่าการโอนลอยมีทั้งข้อดีข้อเสีย แนะนำว่าให้เราดำเนินการเอกสารทั้งหมดให้เรียบร้อย พร้อมกับรีบทำประกันรถยนต์อย่างเร่งด่วน เพื่อที่หากเกิดอุบัติเหตุอะไรในอนาคต จะได้มีผู้ดูแลคุ้มครอง ให้เราไม่ต้องรับผิดชอบเพียงคนเดียว ซึ่ง เอเชียไดเร็ค มีบริการประกันรถยนต์ให้เลือกหลายประเภท พร้อมด้วยส่วนลดสูงสุดถึง 70% ถ้าคุณสนใจต้องการสอบถามกับเจ้าหน้าที่โดยตรง เพียงติดต่อผ่านเบอร์ 02-089-2000 ได้ 24 ชั่วโมง

ความคุ้มครองรถประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภท

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้
x
x
รถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้