แบตเตอรี่รถยนต์เสื่อมสภาพ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?
แบตเตอรี่รถยนต์ก็จะมีอายุการใช้งานของตัวมันเอง ซึ่งแบตเตอรี่รถยนต์แบบเปียก จะมีอายุการใช้งานประมาณ 1-2 ปี แบตเตอรี่รถยนต์แบบกึ่งแห้ง จะมีอายุการใช้งานประมาณ 1.5-3 ปี และแบตเตอรี่รถยนต์แบบแห้ง จะมีอายุการใช้งานประมาณ 5-10 ปี แต่ก็มีไม่น้อยที่ แบตเตอรี่รถยนต์เสื่อม ก่อนเวลาอันสมควร และเราจะรู้ได้ไงว่าอะไรเป็นสาเหตุทำให้ แบตเตอรี่รถยนต์เสื่อม และจะมีวิธีสังเกตอย่างไรว่าแบตเตอรี่ของรถเริ่มเสื่อมประสิทธิภาพแล้ว วันนี้ เอเชียไดเร็ค จะมาบอกเพื่อนๆให้ได้รู้และนำไปสังเกตกันค่ะ
สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว
1. การประจุไฟที่น้อยเกินควร Under Charging
ซึ่งสาเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้จากการที่เราจอดรถแบบนิ่งสนิทไว้นานเกินไป เมื่อรถไม่ได้ออกวิ่งไปไหน ทำให้มีการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ค่อนข้างน้อย จนกลายเป็นประจุไฟน้อยในที่สุด
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น
- เกิดคราบขาวที่แผ่นธาตุของแบตเตอรี่ส่งผลให้ประจุไฟได้ยาก
- ทำให้แผ่นธาตุจะเสื่อมสภาพ
2. การประจุไฟที่มากเกินควร Over Charging
เมื่อไดชาร์จไฟมากเกิน 14.50 โวลต์จะลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ตามลิสต์รายการด้านล่าง ถือว่าเป็นอาการที่ค่อนข้างน่ากลัว เพราะทั้งหมดจะส่งผลให้แบตเตอรี่รถยนต์ มีอายุการใช้งานที่ต่ำกว่ามตรฐานตามปกติอย่างมาก
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น
- น้ำกลั่นแปรสภาพเป็นแก๊สมากทำให้ระดับน้ำกลั่นลดลง
- อุณหภูมิสูงขึ้นมากทำให้แผ่นธาตุเสื่อม
3. การลัดวงจรในช่องแบตเตอรี่ Short Circuit
ส่วนใหญ่ปัญหาในข้อนี้จะหนีไม่พ้นเรื่องการที่ภายในรถยนต์ มีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์จำนวนมาก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงขนาดแบตเตอรี่เองก็อาจส่งผลได้เช่นกัน เนื่องจากไดชาร์จไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ จนสุดท้ายก็เกินการลัดวงจรนั่นเอง
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น
- เกิดตะกอนที่อยู่ส่วนล่างของหม้อแบตเตอรี่มากเกินไป
- เกิดจากการแตกหักหรือการเสื่อมสภาพของแผ่นกั้นระหว่างแผ่นธาตุบวก และแผ่นธาตุลบ
4. ปัญหาระบบไฟในรถยนต์
เป็นเหตุผลต่อเนื่องมาจากหัวข้อด้านบน ที่ว่าการติดอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าภายในมากเกินไป อาจทำให้แบตเตอรี่ของเราไม่สามารถจ่ายไฟได้อย่างพอเพียง รวมถึงการติดตั้งที่ผิด ยิ่งอาจทำให้เกิดการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น
- การติดเครื่องเสียง สัญญาณกันขโมย อุปกรณ์เสริมในรถเพิ่มเติม (ไฟไม่พอ)
- ประสิทธิภาพการทำงานของไดชาร์จไม่เต็มที่
5. การมีสารอันตรายปะปนในหม้อแบตเตอรี่ Impurity
กรณีอย่างการมีสารอันตรายปะปนในหม้อแบตเตอรี่ ส่วนใหญ่มักเกิดจากความผิดพลาดในการเติมของเหลวลงไปในแบตเตอรี่รถยนต์ จนทำให้เกิดอาการที่ผิดแปลกขึ้นมา แล้วค่อย ๆ เสื่อมสภาพลงในท้ายที่สุด
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น
- น้ำกรดไม่ได้คุณภาพ
- น้ำกลั่นที่เติมลงไปไม่บริสุทธิ์
6. การเกิดซัลเฟต (Sulfation)
แผ่นธาตุที่มีผลึกซัลเฟตสีขาวเกาะติดอยู่ที่บริเวณแผ่นธาตุ เกิดจาก…..
- ปล่อยทิ้งแบตเตอรี่ไว้นานๆ โดยไม่นำไปใช้
- การประจุไฟที่น้อยเกินไป (Under Charging)
วิธีสังเกตเมื่อแบตเตอรี่เริ่มเสื่อม
- เมื่อมีอาการต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยๆ (สำหรับแบตเตอรี่ธรรมดา)
- ไฟหน้าไม่สว่าง
- เครื่องยนต์เริ่มสตาร์ทติดยาก
- กระจกไฟฟ้าเริ่มทำงานช้าลง ระบบไฟฟ้าอื่นๆในรถทำงานช้าลง
- ไดสตาร์ทไม่สามารถทำงานได้
หากรถยนต์ของใครที่เกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ให้รีบตรวจเช็คสภาพรถยนต์กับช่างผู้เชี่ยวอย่างโดยเร็ว และทำการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ใหม่ ที่เหมาะแก่การใช้งานของรถเรา แล้วเมื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ใหม่แล้วก็อย่าลืมที่จะดูแลและตรวจเช็คสภาพแบตเตอรี่รถยนต์และเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ สุดท้ายลองเพิ่มการดูแลจากประกันรถยนต์ชั้นนำที่เอเชียไดเร็ค โบรคเกอร์ เผื่ออนาคตเกิดปัญหาเกี่ยวกับแบตเตอรี่ระหว่างทาง ตจะได้มีคนคอยช่วยเหลือ ให้เราไม่ต้องแบกรับทุกอย่างเพียงคนเดียว สามารถเข้าไปเปรียบเทียบประกันที่คุณสนใจได้ที่ https://asiadirect.co.th/ หรือโทรติดต่อ 02-089-2000
Writer ที่อยากเขียนทุกเรื่องราวบนโลก เพื่อหวังจะยกระดับความรู้ในสมองให้เติบโตอย่างช้าทีละนิด ชื่นชอบเทคโนโลยี ความสมัยใหม่ พร้อมอัปเดตทุกอย่างให้โลกได้รู้ผ่านสมองและสองมือ