ดูแลยานยนต์

ประเภทรถยนต์ในปัจจุบันมีทั้งหมดกี่แบบ และแตกต่างกันตรงจุดไหนบ้าง

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริดกว่า 7 ปี ผู้พยายามเข้าใจมักเกิ้ล นิยมชมชอบกลางคืน สามารถผูกมิตรได้ด้วยของกินอร่อยๆ ตอนนี้กำลังหลบลี้หนีภัยจากออฟฟิศซินโดรมอยู่

Published January 11, 2024
ประเภทรถยนต์

เวลาอ่านข่าวรถยนต์ออกใหม่ในตอนนี้ อาจทำให้หลายคนสงสัยว่าประเภทรถยนต์ที่แตกต่างกัน ในความเป็นจริงแล้วมันมีทั้งหมดกี่ประเภท แล้วจุดเด่นของแต่ละประเภทรถยนต์ที่แสดงออกมาได้ชัดเจน มีอะไรบ้าง หากต้องการเข้าสู่แวดวงรถยนต์อย่างเต็มตัว หรือกำลังมองหารถยนต์คันที่เท่าไหร่ก็ตาม ให้เหมาะสมกับการใช้งานที่เราวางแผนไว้ในอนาคต อย่างน้อยต้องทำความเข้าใจขั้นพื้นฐานของประเภทรถยนต์รุ่นหลัก ๆ อยู่บ้าง เพื่อที่การเลือกรถยนต์ของคุณจะได้ง่ายขึ้น เพราะถ้าไม่รู้จักประเภทรถยนต์เลย อาจสร้างความกังวลระหว่างช่วงเวลาของการตัดสินใจได้ 

 

14 ประเภทรถยนต์ที่มีวิ่งบนท้องถนน

โดยประเภทรถยนต์ในปัจจุบันที่เรามีโอกาสเห็นในประเทศไทยทั้งหมด 14 ประเภทหลัก คือ รถเก๋ง (Sedan), รถคูเป้ (Coupe), รถแฮทช์แบค (Hatchback), รถกระบะ (Pickup), รถออฟโรด (Hardtop), รถสปอร์ต (Sport), รถไมโคร (Micro), รถตู้ (Van), รถเปิดประทุน (Convertible), รถครอสโอเวอร์ (Crossover), รถอเนกประสงค์ (SUV), รถอเนกประสงค์ดัดแปลง (PPV), รถวากอน (Wagon) และรถมัสเซิล (Muscle) สำหรับรายละเอียดของแต่ละประเภทรถยนต์ เอเชียไดเร็ค ได้ลองสรุปข้อมูลมาให้แล้วตามหัวข้อยทั้งหมดต่อจากนี้

 

1. รถเก๋ง (Sedan)

รถเก๋ง (Sedan) คือ ประเภทรถยนต์ที่พบได้บ่อยที่สุดบนท้องถนนทั่วไป เป็นรถยนต์ที่มี 4 ประตู มีพื้นที่เก็บสัมภาระแยกช่วงท้าย ได้รับความนิยมสูงเพราะขนาดของรถยนต์ที่เหมาะสมกับการใช้งานทั่วไป ไม่ว่าจะในเมืองหรือเดินทางไหล อีกทั้งหลายบริษัทรถยนต์ยังคงผลิตประเภทรถยนต์นี้ออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้คนมีตัวเลือกเยอะ มีราคาที่เอื้อมถึงง่าย และมีขนาดให้เลือกหลากหลายเช่นเดียวกัน

ตัวอย่างรถยอดฮิตประเภทรถเก๋ง (Sedan) : Honda Civic, Toyota Altis, MG5, Toyota Camry

 

2. รถคูเป้ (Coupe)

รถคูเป้ (Coupe) เป็นประเภทรถยนต์ที่ดีไซน์ทรงสปอร์ต มีความโฉบเฉี่ยว มี 2 ประตู ซึ่งบางจุดอาจทำให้ดูหน้าตาคล้ายกับรถเก๋ง (Sedan) ไปบ้าง แต่ระยะฐานล้อจะค่อนข้างสั้นกว่า รวมถึงคุณสมบัติเรื่องความคล่องตัวที่ทำได้ดีกว่า มีเครื่องยนต์ที่ให้พละกำลังได้แรงเกินรถเก๋งทั่วไป บางกรณีรถยนต์ Coupe อาจมี 4 ประตูได้ เนื่องจากนิยมของรถยนต์ประเภทนี้อีกหนึ่งความหมาย จะสามารถหมายถึงรถยนต์ที่มีท้ายลาดเอียงมากกว่ารถเก๋งทั่วไป ช่องเก็ฐสัมภาระด้านท้ายเก็บได้น้อยกว่า และพื้นที่ศรีษะค่อนข้างแคบ

ตัวอย่างรถยอดฮิตประเภทรถคูเป้ (Coupe) : Ford Mustang, BMW Series 4, Chevrolet Camaro

 

3. รถแฮทช์แบค (Hatchback)

รถแฮทช์แบค (Hatchback) คือ อีกหนึ่งประเภทรถยนต์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย เนื่องด้วยเป็นประเภทรถยนต์ที่หลายคนเรียกว่า รถเก๋ง 5 ประตู เพิ่มประตูตอนท้ายเข้ามา เพื่อเพิ่มพื้นที่เก็บสัมภาระช่วงท้าย เชื่อมต่อกับห้องโดยสาร ทำให้เหมาะกับการใช้งานแบบอเนกประสงค์มากขึ้น แต่คงความขนาดกระทัดรัด ที่ทำให้สามารถใช้งานได้โดยมีขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้น

ตัวอย่างรถยอดฮิตประเภทแฮทช์แบค (Hatchback) : Toyota Yaris, Honda City Hatchback, Suzuki Swift, Mazda 2

 

4. รถกระบะ (Pickup)

รถกระบะ (Pickup) ประเภทรถยนต์ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้ในการบรรทุกของ ประเทศไทยมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ถึงขั้นที่มีการต่อเติมโครงเหล็ก หรือทำตู้ทึบด้านท้ายกระบะ เพื่อช่วยให้สามารถขนส่งสินค้าได้หลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น ลักษณะตัวรถกระบะนั้นจะเป็นประเภทรถยนต์ที่ห้องโดยสารมีทั้งแบบ กระบะตอนเดียว, กระบะแคป, กระบะ 4 ประตู ไปจนถึงกระบะแบบ 4WD

ตัวอย่างรถยอดฮิตประเภทรถกระบะ (Pickup) : Toyota Hilux Revo, Ford Ranger, Isuzu D-Max 

 

5. รถออฟโรด (Hardtop)

รถออฟโรด (Hardtop) ประเภทรถยนต์ที่โดดเด่นและแตกต่างมากที่สุดจากทุกประเภท เพราะเป็นรถยนต์ที่มีการออกแบบเพื่อให้รองรับต่อการขับขี่บนทางวิบาก ด้วยระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ, พละกำลังเครื่องยนต์ และช่วงล่างที่มีความทนทาน ซึ่งหากใครมีงานอดิเรกชอบออกไปแคมป์ปิง จะมีโอกาสได้เห็นประเภทรถยนต์แบบนี้ค่อนข้างมากเลยทีเดียว 

ตัวอย่างรถยอดฮิตประเภทรถออฟโรด (Hardtop) : Suzuki Jimny, Ford Ranger Raptor, Jeep Wrangler

 

6. รถสปอร์ต (Sport)

รถสปอรต์ (Sport) ประเภทรถยนต์ที่ได้รับการออกแบบให้มีประสิทธิภาพในการขับขี่สูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความแรงของเครื่องยนต์ การออกแบบให้สามารถขับขี่ได้อย่างคล่องตัว ส่งผลให้รถสปอร์ตมีราคาค่อนข้างสูงจากหลายปัจจัยร่วมกัน 

ตัวอย่างรถยอดฮิตประเภทรถสปอร์ต (Sport) : Nissan GT-R, Porsche 911

 

7. รถไมโคร (Micro)

รถไมโคร (Micro) ประเภทรถยนต์ขนาดเล็กกระทัดรัดมากที่สุด มีการออกแบบที่เน้นความคล่องตัวสำหรับการขับขี่ในเมือง เพื่อรองรับความหนาแน่นของการใช้รถยนต์ รวมถึงเรื่องที่จอดรถยนต์ด้วยเช่นกัน ซึ่งในบ้านเราจะเห็นประเภทรถยนต์แบบนี้ในรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เป็นส่วนมาก แต่กลับกันในประเทศญี่ปุ่นจะมีการใช้งานรถลักษณะนี้เป็นส่วนมาก เพราะค่อนข้างตอบโจทย์มากกว่านั่นเอง

ตัวอย่างรถยอดฮิตประเภทรถไมโคร (Micro) : Wuling Air EV

 

ประเภทรถยนต์

 

8. รถตู้ (Van)

รถตู้ (Van) ประเภทรถยนต์ที่ถูกเรียกว่าเป็นพระเอกแห่งวงการคมนาคม ที่สามารถรับรองผู้โดยสารได้เป็นจำนวนมาก ไปจนถึงการขนส่งสินค้าในปัจจุบันก็มีการใช้รถตู้อยู่บางประเภท ซึ่งลักษณะรถจะเป็นแบบยาวตั้งแต่ 7 ขึ้นไป ถึง 20 คนได้เลยก็มี จุดเด่นภายนอกอยู่ที่ประตูบานใหญ่เลื่อนเปิดปิด สำหรับความสะดวกสบายในการขึ้นลงของผู้โดยสาร ตัวรถยกสูงทำให้เดินทางได้อย่างคล่องตัว

ตัวอย่างรถยอดฮิตประเภทรถตู้ (Van) : Toyota Commuter, Toyota Hiace, Hyundai Staria

 

9. รถเปิดประทุน (Convertible)

รถเปิดประทุน (Convertible) คือ รถยนต์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ที่การเปิดปิดหลังคาได้ ซึ่งการออกแบบนั้นทำมาให้เพื่อผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ได้สัมผัสประสบการณ์ที่แตกต่างออกไประหว่างทาง ถึงแม้จะดูเป็นประเภทรถยนต์สายชิล แต่ความจริงแล้วส่วนใหญ่มักจะมีเครื่องยนต์ที่ประสิทธิภาพสูงติดตั้งเอาไว้

ตัวอย่างรถยอดฮิตประเภทรถเปิดประทุน (Convertible) : BMW Z4, Mazda MX-5

 

10. รถครอสโอเวอร์ (Crossover)

รถครอสโอเวอร์ (Crossover) ประเภทรถยนต์ที่อิงตัวถังดั้งเดิมมาจากรถเก๋ง (Sedan) แต่ถูกนำมาขยายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมกับยกระดับให้มีความสูงมากกว่าเดิม ถือเป็นการผสมผสานระหว่าง รถเก๋ง (Sedan) กับรถอเนกประสงค์ (SUV) นั่นเอง โดยที่อิงความประหยัดมาจากรถเก๋ง ส่วนเรื่องการใช้งาน ความกว้างห้องโดยสาร ช่วงท้ายเก็บสัมภาระ จะหยิบยกจุดเด่นมาจากรถอเนกประสงค์เป็นหลัก 

ตัวอย่างรถยอดฮิตประเภทรถครอสโอเวอร์ (Crossover) : Honda HR-V, Mazda CX-3, Toyota Corolla Cross 

 

 11. รถอเนกประสงค์ (SUV)

รถอเนกประสงค์ (SUV) รถยนต์แบบ 5 ที่นั่งออกแบบมาให้สามารถใช้งานในลักษณะออฟโรดได้ ซึ่งบางคันมีการติดตั้งระบบขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อไว้ด้วย เพื่อให้ประเภทรถยนต์นี้สามารถขับเคลื่อนไปได้ในหลายภูมิประเทศตามคอนเซปต์ความอเนกประสงค์ โดยรวมถึงการเก็บสัมภาระช่วงท้ายที่มีขนาดกว้างขวาง แถมประเภทรถยนต์ดังกล่าว ก็มีให้เลือกหลายขนาดอย่างมาในประเทศไทย

ตัวอย่างรถยอดฮิตประเภทรถอเนกประสงค์ (SUV) : Honda CR-V, MG HS, Volvo XC60, Mazda CX-5

 

12. รถอเนกประสงค์แบบดัดแปลง (PPV)

รถอเนกประสงค์แบบดัดแปลง (PPV) คือ ประเภทรถยนต์ที่อิงตัวถังดั้งเดิมมาจากรถกระบะ (Pickup) มีการปรับเปลี่ยนช่วงล่างเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในทุกพื้นที่ และมีการเพิ่มเติมจำนวนที่นั่งภายในห้องโดยสารเป็นทั้งหมด 7 ที่ 

ตัวอย่างรถยอดฮิตประเภทรถอเนกประสงค์ดัดแปลง (PPV) : Toyota Fortuner, Nissan Terra, Mitsubishi Pajero

 

13. รถวากอน (Wagon)

รถวากอน (Wagon) ประเภทรถยนต์ที่หลายคนอาจไม่คุ้นหูมากที่สุด แต่ภาพลักษณ์ภายนอกกับภายใน จะทำให้คุณแยกออกได้ไม่ยาก เริ่มที่ตัวถังคล้ายรถเก๋ง (Sedan) บางรุ่นจะมีประตูท้ายเหมือนรถแฮทช์แบค (Hatchback) ทำให้ตัวรถค่อนข้างกว้าง และยาว อีกทั้งยังมีที่นั่งถึง 7 ที่นั่งด้วย การใช้งานก็จะเน้นไปที่รถครอบครัวที่อยากได้พื้นที่บรรทุกของมาก แต่ไม่ต้องการถคันที่ใหญ่โตเกินไป

ตัวอย่างรถยอดฮิตประเภทรถวากอน (Wagon) : Volvo V90, Subaru Outback, Audi A4 Avant

 

14. รถมัสเซิล (Muscle)

รถมัสเซิล (Muscle) ประเภทรถยนต์สุดท้ายที่เราอาจไม่ได้พบบ่อยบนท้องถนนประเทศไทย เพราะเป็นรถยนต์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เหมาะกับการขับขี่ในสนามแข่งขัน เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วจะติดตั้งเครื่องยนต์ ที่ทรงพลังอย่างรุ่น V8 เป็นส่วนใหญ่ ตัวรถจะมีลักษณะเรียบง่าย แบนราบ ช่องว่างระหว่างมใต้ท้องรถกับพื้นถนนค่อนข้างน้อย พื้นฐานดูแลรวมแล้วค่อนข้างสปอร์ตมากทีเดียว

ตัวอย่างรถยอดฮิตประเภทรถมัสเซิล (Muscle) : Ford Mustang GT, Chevrolet Camaro SS

ทีนี้เราก็เชื่อว่าทุกคนสามารถแยกประเภทรถยนต์ได้ทุกรูปแบบ และยังช่วยให้การตัดสินใจซื้อรถสักคันเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น เนื่องจากเราทราบกันเรียบร้อยแล้วว่าประเภทรถยนต์แต่ละแบบ แต่ละรุ่น เหมาะสมกับการใช้งานประเภทไหน พอได้รถยนต์คันที่ตั้งใจเลือกมาไว้ในครอบครองแล้ว อย่าลืมพิจารณาเรื่องประกันรถยนต์เพิ่มเติมด้วย เพื่อที่คุณจะสามารถดูแลรถยนต์พร้อมกับดูแลผู้โดยสารบนรถได้ด้วยเช่นกัน หากต้องการคำปรึกษาเรื่องประกันรถยนต์เพิ่มเติม สามารถติดต่อเข้ามาหา เอเชียไดเร็ค ได้ที่เบอร์ 02-089-2000 หรือไลน์แอด @asiadirect ติดต่อได้ 24 ชั่วโมง

บทความดูแลยานยนต์
Rabbit Care Blog Image 1051
ดูแลยานยนต์

ถุงลมนิรภัย คือ อะไร ใช้งานเมื่อไหร่ ต้องเปลี่ยนไหม แล้วมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

จุดเริ่มต้นของถุงลมนิรภัยเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1971 ที่ทางบริษัทฟอร์ดได้สร้างรุ่นทดลองขึ้นมาวิจัย
คะน้าใบเขียว
clock icon01/02/2024
Rabbit Care Blog Image 1047
ดูแลยานยนต์

Crossover คือ รถอะไร แล้วมีความแตกต่างจากประเภทอื่นอย่างไรบ้าง

พอพูดถึงประเภทรถยนต์ที่คุ้นหูในยุคนี้ คงหนีไม่พ้นรถ SUV, Sedan, Hatchback หรือ Crossover อย่างแน่นอน ซึ่ง 3 ประเภทแรกที่เรากล่าวมา มันก็มีความชัดเจนอยู่แล้วภายใต้ชื่อรุ่น
คะน้าใบเขียว
clock icon30/01/2024
Rabbit Care Blog Image 1024
ดูแลยานยนต์

ไฟตัดหมอกมีความสำคัญอย่างไร และแยกออกเป็นกี่ประเภท

โดยปกติแล้วคนที่ซื้อรถยนต์ในปัจจุบันจะมีไฟตัดหมอกติดตั้งมาให้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เพียงแต่บางคนอาจไม่ทราบข้อมูลอย่างแท้จริงว่าไฟตัดหมอก คือ อะไร
คะน้าใบเขียว
clock icon25/01/2024