ดูแลยานยนต์

รวมสิ่งควรรู้ก่อนตัดสินใจนำรถติดแก๊ส และมีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริดกว่า 7 ปี ผู้พยายามเข้าใจมักเกิ้ล นิยมชมชอบกลางคืน สามารถผูกมิตรได้ด้วยของกินอร่อยๆ ตอนนี้กำลังหลบลี้หนีภัยจากออฟฟิศซินโดรมอยู่

Published November 23, 2023
รถติดแก๊ส

ก่อนที่รถยนต์ไฟฟ้าจะได้รับความนิยม ประเทศไทยเคยมีช่วงที่รถติดแก๊สได้รับการตอบอย่างมาก เพราะสามารถติดตั้งในรถยนต์ได้เกือบทุกรุ่น อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากเลยทีเดียว เมื่อเทียบราคาแก๊สต่อราคาน้ำมันในแต่ละยุคสมัย ซึ่งต่อให้ปัจจุบันค่าแก๊สจะเพิ่มสูงขึ้น ก็ยังคงถูกกว่าราคาน้ำมันอยู่ดี ทำให้รถติดแก๊สยังได้รับความนิยมสำหรับคนบางกลุ่มอยู่เช่นเดิม อย่างไรก็ตามผู้ที่กำลังสนใจในรถติดแก๊ส ควรทำความเข้าใจเพิ่มเติมอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจอีกครั้ง ตั้งแต่ข้อมูลเรื่องประเภทแก๊ส, ความแตกต่าง รวมถึงข้อดีข้อเสียทั้งหมด

 

รถติดแก๊ส คือ อะไร

รถติดแก๊ส คือ การที่เราเอารถยนต์ไปติดตั้งระบบจ่ายพลังงานเชื้อเพลิงด้วยแก๊สเพิ่มเติม ซึ่งทำให้รถยนต์สามารถใช้งานได้ 2 ระบบทั้งน้ำมันและแก๊ส กรณีที่แก๊สหมดเราก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนไปใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ได้เช่นกัน 

 

ประเภทรถติดแก๊ส

สำหรับรถติดแก๊สในปัจจุบันนั้นมีให้เลือกอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ แก๊ส LPG และแก๊ส NGV โดยแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างดังนี้

 

LPG

รถติดแก๊ส LPG (Liquefied petroleum gas) หรือก็คือ แก๊สหุงต้มที่เราใช้งานกันทั่วไป ซึ่งประกอบไปด้วยโพรเพน และบิวเทน ที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบของโรงกลั่น รวมถึงการได้จากวิธีการแยกก๊าสธรรมชาติด้วย มีลักษณะเป็นของเหลว ส่วนใหญ่ได้รับความนิยมในการเลือกใช้เพื่อทดแทนน้ำมันเบนซิน หรือในรถยนต์ทั่วไป แต่ทั้งนี้สามารถใช้ทดแทนได้ทั้งเบนซินและดีเซล

 

NGV

รถติดแก๊ส NGV (Natural Gas for Vehicles) คือ แก๊สที่ได้จากการทับถมกันในซากพืชและซากสัตว์ ซึ่งมักจะถูกเรียกอีกชื่อว่า แก๊สธรรมชาติอัด โดยส่วนประกอบหลักจะเป็นมีเทนนำไปบรรจุในถังที่มีความแข็งแรงมาก ซึ่งมีน้ำหนักที่น้อยกว่า LPG ทำให้ถูกนำมาใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลมากกว่าเบนซินในปัจจุบัน 

 

ข้อแตกต่างระหว่างรถติดแก๊ส LPG และ NGV

กรณีที่มีความสนใจต้องการนำรถติดแก๊สอยู่แล้ว แต่ยังมีความข้องใจว่า LPG หรือ NGV จะเหมาะสมมากกว่ากัน ลองมาดูข้อแตกต่างของทั้ง 2 ว่าจะแบบไหนที่จะพร้อมตอบโจทย์การใช้งาน หรือการขับขี่ของคุณได้มากกว่ากัน ซึ่วสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากลิสต์รายการดังต่อไปนี้

  • รถแก๊ส LPG อาจต้องรับน้ำหนักมากกว่ารถแก๊ส NGV แม้ว่าตัวถังจะเริ่มต้นด้วยน้ำหนักใกล้เคียงกัน แต่แก๊สภายในจะมีนำหนักแตกต่างกันตามสถานะ
  • รถติดแก๊สทั้ง 2 ประเภทนั้นไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จึงต้องมีการเพิ่มกลิ่นฉุนเข้าไปเล็กน้อย กรณีที่เกิดการรั่วซึมจะทำให้เรารับรู้ได้ทันที
  • รถแก๊ส NGV จะได้เปรียบ LPG เพราะรัฐให้การสนับสนุนจึงมีค่าเชื้อเพลิงที่ต่ำกว่า ใครที่ต้องการประหยัดอาจเลือกนำรถแก๊ส NGV เป็นหลัก
  • รถแก๊ส NGV จะมีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์มากกว่า ทำให้สร้างมลพิษต่อสภาพแวดล้อมได้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับรถแก๊ส LPG
  • รถแก๊ส NGV มีความเสี่ยงน้อยกว่า เพราะตัวแก๊สนั้นมีน้ำหนักเบากว่าอากาศ หากเกิดการรั่วซึมขึ้นมาจริงตัวแก๊สจะลอยขึ้นด้านบน ทำให้มีโอกาสเกิดอันตรายน้อยกว่ารถแก๊ส LPG 
  • ส่วนรถแก๊ส LPG จะมีค่าติดตั้งที่ถูกกว่ารถแก๊ส NGV
  • รถติดแก๊ส LPG มีสถานีบริการที่จำนวนเยอะกว่า NGV 
  • รถติดแก๊ส LPG จะใช้เวลาเติมแก๊สน้อยกว่า NGV โดยใช้เวลาเฉลี่ยเติมประมาณ 5-7 นาทีเท่านั้น

ดังนั้นก่อนนำรถติดแก๊สอย่าลืมพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่าง 2 ประเภทที่กล่าวมาด้วย เพื่อที่จะได้ใช้งานรถยนต์ที่พร้อมตอบโจทย์การเดินทาง มากกว่าการมานั่งปวดหัวหรือมีความกังวลในอนาคต แต่สำหรับคนที่ยังติดสินใจไม่ได้ ก็สามารถอ่านสรุปข้อดี ข้อเสีย รถติดแก๊สเพิ่มเติมได้ในหัวข้อถัดไป

 

ข้อดี ข้อเสีย รถติดแก๊ส

สำหรับข้อดี ข้อเสีย รถติดแก๊ส ที่จะช่วยนำเสนอภาพรวมทั้งหมดของรถติดแก๊ส ไม่ว่าจะเป็นประเภทไหนก็ตาม สามารถติดตามอ่านได้จากตารางข้อดี ข้อเสียด้านล่างนี้เลย

 

ข้อดี

ข้อเสีย

ประหยัดค่าน้ำมัน โดยในปัจจุบันราคาแก๊สไม่ว่าจะเป็น NGV หรือ LPG ต่างก็มีราคาถูกกว่าน้ำมันเกือบเท่าตัว ดังนั้นการเลือกประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยรถติดแก๊ส จึงกลายเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ยังได้รับความนิยมอยู่จนถึงตอนนี้ค่าติดตั้งที่มีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งปัจจุบันมีราคาติดตั้งที่ประมาณ 30,000 บาทขึ้นไป หากนำเงินในส่วนนี้ไปเติมน้ำมันตามราคาปกติ อาจได้น้ำมันเต็มถังเฉลี่ยอย่างน้อย 15-20 ถังที่วิ่งได้เกือบ 10,000 กิโลเมตร
สถานีบริการค่อนข้างเยอะ อย่างที่ได้กล่าวไปว่าในอดีตรถติดแก๊สเคยได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ในประเทศไทยจึงมีรถติดแก๊สวิ่งบนท้องถนนจำนวนมาก เหล่าผู้ประกอบการจึงเปิดให้บริการกันอย่างหลากหลายการที่นำรถติดแก๊สภายหลัง อาจส่งผลให้เครื่องยนต์เสื่อมสภาพได้เร็วกว่าปกติ เนื่องจากทำให้เกิดการสึกหรอภายในเครื่องยนต์ที่มีอุณหภูมิการเผาไหม้สูงกว่าการใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง
รถติดแก๊สจะเสื่อมราคามากกว่าเดิม เนื่องด้วยเหตุผลอย่างการทำให้ระยะยาวเครื่องยนต์เสื่อมถอย และความเสี่ยงการใช้งานอีกหลายด้าน จึงทำให้การขายมือสองมีราคาต่ำลง
ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงกว่า เนื่องจากแก๊สที่ติดตั้งนั้นมีโอกาสติดไฟได้ง่ายกว่า เร็วกว่า 

 

สรุป จากข้อดี ข้อเสีย รถติดแก๊สทั้งหมดนั้นจะเห็นภาพไปทางเดียวกันเลยว่าถ้าเราต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย และใช้งานรถติดแก๊สคันนั้นอย่างยาวนานในอนาคต ก็ถือว่าเหมาะสมต่อการติดตั้งเพื่อใช้งาน แต่ใครที่คิดว่าจะมีการเปลี่ยนรถในอนาคต และต้องการขายรถติดแก๊สด้วยนั้นอาจต้องเริ่มคิดใหม่อีกครั้ง เพราะราคารถจะต่ำกว่าตลาดค่อนข้างมาก ทำให้ขายได้ในราคาที่ไม่ค่อยคุ้มค่านั่นเอง

 

ปัญหาที่มักพบเจอในรถติดแก๊ส

ปัญหาที่มักพบเจอในรถติดแก๊ส คือ อาการแก๊สรั่วซึมเข้าในห้องโดยสาร, สายระบบแก๊สของรถยนต์เกิดการรั่วซึม จนมีประกายไฟ, อาการเครื่องสั่นรอบเดินเบาไม่นิ่ง หรือสั่นเพราะวาล์วตัน, อาจต้องนำรถเข้าอู่เพื่อจูนแก๊สบ่อยครั้ง ไม่อย่างนั้นอาจต้องเจออาการเครื่องสั่นและอาการกินแก๊สมากกว่าปกติได้ และปัญหาไฟเตือนเครื่องยนต์ที่หน้าปัดรถ ที่มาจากจังหวะการจ่ายแก๊สหนาหรือบางเกินไป จนทำให้กล่อง ECU ประมวลผลผิดพลาด จนกลายเป็นความกังวลในการขับขี่ได้เช่นกัน

 

รถติดแก๊สทำประกันได้ไหม

รถติดแก๊สสามารถทำประกันได้ตามปกติเหมือนรถทั่วไป ส่วนรถคันไหนที่เพิ่งนำไปติดแก๊สเพิ่มเติมภายหลัง ต้องรีบดำเนินการแจ้งทางบริษัทประกันให้รับทราบ ไม่อย่างนั้นอาจไม่ได้รับการคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์เดิม ส่วนเรื่องเบี้ยประกันอาจต้องมีการจ่ายเพิ่มกว่าปกติเล็กน้อย 

 

สรุปข้อควรรู้ก่อนนำรถไปติดแก๊ส

สรุปข้อควรรู้ทั้งหมดก่อนนำรถติดแก๊ส คือ การประหยัดเงินที่มากกว่าการเติมน้ำมันตามปกติอยู่แล้ว แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าติดตั้งที่มีราคาสูง และมีความเสี่ยงในการใช้งานในระดับหนึ่ง และสิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจก่อนเลยว่าเมื่อรถติดแก๊ส ประกันอาจหมดอายุทันที  เนื่องจากเป็นการดัดแปลงสภาพรถยนต์ที่ไม่ได้มาจากศูนย์บริการ รวมถึงการดูแลรักษาที่ต้องทำมากขึ้น เพราะการติดตั้งระบบแก๊สเพิ่มเข้าไปทำให้เกิดความยุ่งยากมากกว่าเดิม จึงต้องเลือกใช้บริการอู่หรือศูนย์ซ่อมที่ไว้วางใจได้ รวมถึงต้องมีการตรวจเช็กระบบแก๊สตามที่กรมการขนส่งทางบกได้ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนด้วย 

 

หากคุณนำรถไปติดแก๊สเรียบร้อย และมีความต้องการทำประกันรถยนต์ สามารถติดต่อสอบถาม เอเชียไดเร็ค เพื่อขอคำปรึกษาว่าประกันรถยนต์ชั้นไหนที่เหมาะสมกับการใช้งาน ณ ปัจจุบันมากที่สุด พร้อมกับการรับข้อเสนอสุดพิเศษจาก เอเชียไดเร็ค เพิ่มเติม เช่น ช่วยเช็คประกันที่เหมาะสมใน 30 วินาที, รับส่วนลดสูงสุดถึง 70% และยังสามารถเลือกผ่อน 0% ได้นานถึง 10 เดือน การันตีความคุ้มค่าที่สุดจากบริษัทประกันชั้นนำทั่วประเทศไทย สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-089-2000 หรือไลน์แอด @asiadirect ซึ่งสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมงในทุกช่องทาง

บทความดูแลยานยนต์
Rabbit Care Blog Image 1051
ดูแลยานยนต์

ถุงลมนิรภัย คือ อะไร ใช้งานเมื่อไหร่ ต้องเปลี่ยนไหม แล้วมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

จุดเริ่มต้นของถุงลมนิรภัยเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1971 ที่ทางบริษัทฟอร์ดได้สร้างรุ่นทดลองขึ้นมาวิจัย
คะน้าใบเขียว
clock icon01/02/2024
Rabbit Care Blog Image 1047
ดูแลยานยนต์

Crossover คือ รถอะไร แล้วมีความแตกต่างจากประเภทอื่นอย่างไรบ้าง

พอพูดถึงประเภทรถยนต์ที่คุ้นหูในยุคนี้ คงหนีไม่พ้นรถ SUV, Sedan, Hatchback หรือ Crossover อย่างแน่นอน ซึ่ง 3 ประเภทแรกที่เรากล่าวมา มันก็มีความชัดเจนอยู่แล้วภายใต้ชื่อรุ่น
คะน้าใบเขียว
clock icon30/01/2024
Rabbit Care Blog Image 1024
ดูแลยานยนต์

ไฟตัดหมอกมีความสำคัญอย่างไร และแยกออกเป็นกี่ประเภท

โดยปกติแล้วคนที่ซื้อรถยนต์ในปัจจุบันจะมีไฟตัดหมอกติดตั้งมาให้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เพียงแต่บางคนอาจไม่ทราบข้อมูลอย่างแท้จริงว่าไฟตัดหมอก คือ อะไร
คะน้าใบเขียว
clock icon25/01/2024